วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

สตูลตัวแทนชาวประมงกว่า 100 คน ยื่นหนังสือทบทวน พรบ การเดินเรือ

สตูลตัวแทนชาวประมงกว่า100 คนยื่นหนังสือขอทบทวนพรบ.การเดินเรือ


วันที่22พ.ค.2560ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนชาวบ้าน 17 ตำบล 4 อำเภอ กว่า 100 คน นำโดยนายอับดุลรอซัก เหมหวัง คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้านจ.สตูล เดินทางมายังศาลากลางจ.สตูลเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผวจ.สตูล และยื่นหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรมจ.สตูล เรื่องขอให้มีการทบทวนประกาศของกรมเจ้าท่า ตามพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 ) ซึ่งพ.ร.บ.ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชาวบ้านชาวประมงในพื้นที่ 4 อำเภอดังกล่าว โดยพ.อ.อาทิตย์ อรุณโชต รองผอ.รมน.จ.สตูล ได้ลงมารับหนังสือแทนผวจ.สตูลและนายสุริยัน เดชรักษา ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจ.สตูลมารับหนังสือ

 


โดยตามที่มีประกาศของกรมเจ้าท่าให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ จะต้องยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตการใช้พื้นที่ริมน้ำเพื่อที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการทำประโยชน์ใดๆ ซึ่งจะต้องแจ้งภายในวันที่ 23 ก.พ.-22 มิ.ย. 60 และหากไม่มีการไปแจ้งจะถือว่ามีความผิด และจะต้องโทษอาญาตามบทลงโทษในพรบ.นี้ ซึ่งทางชมรมประมงพื้นบ้านจ.สตูล ร่วมกับเคือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจ.สตูล ประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชต่างๆใน 4 อำเภอคือ อ.เมือง อ.ท่าแพ อ.ละงู และอ.ทุ่งหว้า จำนวน 17 ตำบล ซึ่งเป็นพื้นที่ชายฝั่ง มีวิถีชีวิตการทำประมงมายาวนาน มีประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างสังคมสนับนับแต่อดีตจนปัจจุบัน เป็นฐานทุนในการสร้างเศรษฐกิจและรายได้ที่สำคัญของจังหวัด เป็นกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบจากประกาศดังกล่าวโดยตรง จึงขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาทบทวนเนื้อหาบางมาตรา ในส่วนที่กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่ริมทะเลและชายฝั่ง สำหรับข้อเสนอนั้นให้รัฐบาลศึกษาเพื่อจำแนกประเภทของชุมชนริมน้ำประเภทต่างๆรวมถึงแยกประเภทของชุมชนที่มีการบุกรุกใหม่ กับชุมชนในวิถีริมน้ำดั้งเดิม ซึ่งจะต้องออกกฏหมายข้อบังคับให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของความเป็นจริง โดยคำนึกถึงความทุกข็ร้อนในการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างละเอียดรอบคอบ ให้ทบทวนความเหมาะสมของค่าปรับ ค่าเช่ารายปี ซึ่งสูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับพ.ร.บ.ที่ดิน ทั้งยังมีช่องว่างในการใช้ดุลพินิจ.โดยไม่มีขั้นตอนที่ดีพอ ระหว่างการพิจารณาทบทวนนี้ ขอให้มีการชะลอกการดำเนินการตามประกาศในมาตรา 18 ของพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ 2560 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขข้อเสนอดังกล่าว


นายอับดุลรอซัก เหมหวัง คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้านจ.สตูลกล่าวว่าสำหรับจ.สตูลนั้นชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.บ.ดังกล่าวมีไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นครอบครัว ต้องยอมรับว่าชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นคนจนกฏหมายฉบับนี้ไม่เอื้อต่อการดำรงชีพ กับวิถีชุมชนดั้งเดิมต้องยอมรับว่าพี่น้องประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ยากจน จึงต้องมีการสร้างบ้านรุกล้ำลำน้ำ หลายคนรายได้ไม่เพียงพอต้องหาอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงปลาในกระชัง และยังมีพี่น้องอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงกฏหมายนี้อย่างเช่นการเพาะเลี้ยงในกระชังปลาถูกปรับจะคิดตารางเมตรละ 500 บาทซึ่งเท่ากับว่าการถูกปรับดังกล่าวสูงกว่าการลงทุนครั้งแรกเสียอีก การรุกล้ำลำน้ำทุกคนไม่อยากทำแต่ทุกคนไม่มีที่จะอยู่แค่จะก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยแทบจะยากลำบากสำหรับคนจน จึงอยากวอนให้นายกรัฐมนตรีได้ทบทวนประกาศของกรมเจ้าท่าใหม่ เนื่องจากจะกระทบต่อชาวบ้านคนจนทันที เรามาเพื่อบอกกล่าวให้ท่านทราบว่าเราเดือดร้อนอย่างไร ซึ่งชาวประมงพื้นบ้านถือเป็นชาวประมงที่มีวิถีชีวิตผูกพันธ์อยู่กับริมคลองและชายทะเล การทำมาหากินก็เอื้อต่อกันจึงเป็นการทำประมงแบบอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนและไม่ทำลายสัตว์น้ำ
หลังยื่นหนังสือรองผอ.รมน.จ.สตูล ได้กล่าวกับชาวบ้านว่าหนังสือนี้จะเรียกว่าหนังสือขอความช่วยเหลือ กฏหมายที่ออกไปก็เพื่อต้องการให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู ชาวบ้านไม่ต้องกลัวว่าปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข เราอยู่ในยุคที่ต้องการความโปร่งใส เป็นธรรมนโยบายของรัฐต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ประชาชนไม่เดือดร้อน โดยรับปากว่าจะส่งหนังสือฉบับนี้ไปยังนายกรัฐมนตรโดยเร็ว ชาวบ้านต่างพอใจและแยกย้ายกลับ

 

นิตยา แสงมณี ภาพ/ข่าว/สตูล

Loading