วันเสาร์, 30 พฤศจิกายน 2567

เดอะโอ๋ !!! ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี

เดอะโอ๋ !!! ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี

วันนี้ 16 ก.พ.66 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 2/2566 โดยมี พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วรายุทธ สุขวัฒน์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.จักรกฤษ เครือสุนทรวานิช ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.ดร.จักษ์ จิตตธรรม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.วชิรพงษ์ อมราพิทักษ์ ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ ผบก.กค.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 พร้อมรอง ผบก.ภ.จว.ทั้ง 8 จังหวัด ผกก.หัวหน้าสถานีทั้ง 104 สถานี ในสังกัดตำรวจภูธรภาค.7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

โดยก่อนการประชุม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 ได้จัดพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณ ด้านงานป้องกันปราบปรามและด้านการสืบสวน กรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว กองกำกับการสืบสวนภูธรจังหวัดสมุทรสาคร ชุด ชป.ปส.ภ.7 และสถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวในที่ประชุมได้สั่งการเน้นย้ำให้ทุกหน่วยปฏิบัติ ดังนี้ 1.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ และข้าราชการตำรวจ ดำเนินการตามแนวทางการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ ดังนี้ 1.1 การบริการเบ็ดเสร็จ ณ.จุดเดียว ONE STOP SERVICE 1.1.1 บุคลิกภาพของข้าราชการตำรวจ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตใจของการให้บริการที่ดี ด้วยความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพและให้เกียรติ 1.1.2 ความสะดวกในการรับบริการ เน้นการบริการเบ็ดเสร็จ ณ.จุดเดียว โดยเคร่งครัด ต้องมีที่จอดรถเฉพาะสำหรับประชาชนที่มาติดต่อราชการ ห้องน้ำต้องสะอาดและพร้อมใช้อยู่เสมอ สถานีตำรวจและบริเวณโดยรอบต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ตามแนวทาง 5 ส 1.1.3 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่บนสถานีตำรวจ คอยให้คำแนะนำกับประชาชนที่มาใช้บริการ หรือผู้มาติดต่อราชการอีกหน้าที่หนึ่ง อย่างน้อย 1 นาย หรือตามความเหมาะสมของระดับสถานีตำรวจ 1.2 การบริการนอกสถานีตำรวจ 1.2.1 เมื่อประชาชนแจ้งหรือร้องขอให้ตำรวจไปพบหรือไปช่วยเหลือในพื้นที่ ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว พนักงานวิทยุต้องสอบถามข้อมูลให้ได้รายละเอียดที่เพียงพอ 1.2.2 ทุกสถานีตำรวจมีการให้บริการด้านข้อมูล (Public information services) เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ไลน์ เฟชบุ๊ก ของสถานีตำรวจ ให้ประชาชนสามารถแจ้งเหตุ แจ้งปัญหา หรือปรึกษาข้อกฎหมายที่ไม่เร่งด่วน โดยมีการตอบกลับหรือแจ้งผลการปฏิบัติ โดยเร็วตามระยะเวลาที่เหมาะสม 1.2.3 การทำงานเชิงรุก Stop walk and talk ให้ตำรวจไปพบประชาชนเองโดยไม่มีการแจ้งหรือร้องขอ ซึ่งเป็นการทำงานเชิงรุก และมีความสำคัญที่สุดในการสร้างความพึงพอใจให้ประชาชน 1.3 ยกระดับเน้นการปฏิบัติของแต่ละสายงาน ตามแนวทางการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ1.4 กำชับเพิ่มวงรอบการตรวจเยี่ยมพบปะประชาชน รวมถึงความหลากหลายของช่องทางในการพบปะประชาชน ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องสามารถนำข้อมูลจากการพบปะ/ตรวจเยี่ยมมาปรับใช้ในการทำงาน 1.5 ให้ผบก.ออกสุ่มตรวจตามแนวทางการยกระดับฯ อย่างน้อยเดือนละ 3 สถานี และ รอง ผบก. ออกสุ่มตรวจอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 สถานี โดยให้สอบถามจากผู้นำท้องถิ่น บุคคลสำคัญ และประชาชนทั่วไป ถึงบุคลิกภาพของตำรวจ การบริการบนสถานี การมาพบเยี่ยมประชาชนของตำรวจของสถานีตำรวจนั้นๆ และสอบถามถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติของตำรวจ รวมทั้งการปรับแผนและพื้นที่การตรวจ แล้วทำการบันทึกผลการตรวจและหรือภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐานการตรวจ ซึ่งผบช. และ รอง ผบช. จะออกสุ่มตรวจตามแนวทางการยกระดับฯ อย่างน้อยเดือนละ 1 สถานี 2.กำชับการปฏิบัติตามหนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0007.22/1572 ลง 31 พ.ค.64 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และหนังสือ ตร. ที่ 0007.34/681 ลง 3 มี.ค.64 เรื่อง มาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจร ทางบกและความผิดอื่นที่เกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ซึ่งกำหนดแนวทางและมาตรการในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกและความผิดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดให้การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจให้พิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม หรือเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบนถนน โดยจะต้องนำข้อมูลสถานภาพอาชญากรรม หรือสถิติการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละพื้นที่มาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณากำหนดจุดสำหรับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ รวมทั้งต้องดำเนินการในลักษณะด่านตรวจ จุดตรวจสัมพันธ์ เพื่อลดการส่งผลกระทบต่อการเดินทางและปฏิบัติกิจธุระตามปกติของประชาชน โดยกำชับการปฏิบัติดังนี้

2.1ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัดทุกนายแต่งเครื่องแบบและติดกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบติจิตอล (Police Body Camera) ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ และเมื่อมีกรณีการเรียกตรวจบุคคลและยานพาหนะให้บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจไว้ตลอดเวลาและให้นำภาพและเสียงที่บันทึกไว้ในกล้องไปจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยในโอกาสแรกหลังเลิกการปฏิบัติ โดยให้เก็บภาพและเสียงไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 วัน และให้ หน.สน./สภ. ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด หากพบข้อบกพร่องในกรณีดังกล่าว ให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยหัวหน้าด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด จนถึง หน.สน./สภ. 2.2 ในการตั้งจุดสกัด ให้ปฏิบัติได้เฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อระงับยับยั้ง สกัดกั้น หรือจับกุมผู้กระทำความผิดเท่านั้น โดยให้ดำเนินการและประสานการปฏิบัติกับศูนย์รับแจ้งเหตุ/ศูนย์วิทยุสื่อสารของหน่วยในทันที โดยไม่ต้องขออนุมัติผู้บังคับบัญชาระดับ หน.สน./สภ. ขึ้นไป 2.3 การตั้งจุดตรวจเพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ต้องได้รับอนุมัติจาก ผบก. ขึ้นไป ทุกครั้ง หากพบว่ามีการตั้งจุดตรวจโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ผบก.ขึ้นไป ให้ผู้บังคับบัญชาระดับ ภ.จว. พิจารณาข้อบกพร่องเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 2.4 กำชับในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ ให้ทุกหน่วยลงข้อมูลในสารสนเทศของ ตร. (Thai Police Checkpoint Control : TPCC ) ผ่านช่องทาง http:/tpcc.police.go.th และให้ หน.สภ. ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด หากพบข้อบกพร่องในกรณีตังกล่าว ให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยหัวหน้าด่านตรวจ จุดตรวจจนถึง หน.สภ. 2.5 ให้ผู้บังคับบัญชา สุ่มตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนด 2.6 ให้นำผลการดำเนินการติดตาม ควบคุม กำกับดูแลด่านตรวจ และจุดตรวจ พร้อมปัญหาข้อขัดข้องของหน่วยในสังกัดเข้าที่ประชุมบริหารภ.7 เป็นประจำทุกเดือน โดยให้ ผบก.ภ.จว.เป็นผู้รายงาน 3.นโยบายด้านยาเสพติด เป็นหนึ่งในภารกิจเร่งด่วน “เพื่อประชาชน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี 5 ข้อ ได้แก่ 3.1 ยกระดับความสำคัญการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้งรายย่อยในพื้นที่ รายสำคัญ และเครือข่าย 3.2 ร่วมกับภาคีเครือข่าย ค้นหาผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตประสาท และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดระดับความรุนแรงของอาการ เพื่อนำเข้าบำบัดรักษาโดยเร็วตาม พ.ร.บ. สุขภาพจิต 3.3 ค้นหาและนำผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาโดยสมัครใจ และบันทึกข้อมูลในระบบชักถามข้อมูลยาเสพติดทุกราย 3.4 ให้ความสำคัญกับโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาออกตรวจเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ 3.5 กวดขันดูแลมิให้ข้าราชการตำรวจเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากฝ่าฝืนให้ดำเนินการโดยเด็ดขาด 4.เพื่อให้การดำเนินการป้องกัน บำบัดฟื้นฟู ผู้เสพ ผู้ติด ผู้ใช้ยาเสพติด ตามข้อ 3 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ประชาชนโดยเร็ว จึงให้กำชับการดำเนินการ ดังนี้ 4.1 ค้นหาและนำผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัด เมื่อมีการตรวจพบผู้เสพ/ครอบครองเพื่อเสพ ที่สมัครใจบำบัด (ตาม ม.114) ก่อนนำส่งบำบัด ให้ซักถามผู้เสพตามแบบบันทึกพฤติการณ์ผู้เสพ/ครอบครองเพื่อเสพ ที่สมัครใจเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด และบันทึกให้ครบถ้วน 4.2 สำรวจและค้นหาผู้เสพยาเสพติดที่มีอาการทางจิตประสาทในพื้นที่ หรือที่มีพฤติการณ์ก่อความรุนแรง เพื่อพิจารณาจัดลำดับความรุนแรงของอาการ โดยประสานหาแหล่งข้อมูลจากภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ แล้วสรุปผลแยกตามกลุ่มสี เขียว เหลือง แดง และนำเข้าบำบัดรักษาโดยเร็ว ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 5.ให้ผบก.รอง ผบก.ผกก.และหัวหน้าสถานี สื่อต่อข้อสั่งการของผบ.ตร.รอง ผบ.ตร.ผู้ช่วย ผบ.ตร.ผบช.ภ.7 และ รองผบช.ภ.7 ให้ถึงผู้ปฏิบัติ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับต้องทราบข้อสั่งการโดยทั่วกัน 6.การแก้ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นเรื่องเร่งด่วนตามนโยบายผบ.ตร. ทุกหน่วยต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนตามตัวชี้วัด เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และศรัทธา 7.กำชับการรายงานเหตุอุกฉกรรจ์ เหตุที่ประชาชนให้ความสนใจ ต้องรายงานทันที อย่าให้ล่าช้า 8.ให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงใกล้การเลือกตั้ง ผู้มีอิทธิพล อาวุธปืน อาวุธสงครามต้องไม่มีในพื้นที่ ซึ่งภ.7 จะจัดให้มีการระดมปิดล้อม ตรวจค้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้มีอิทธิพล หรือการก่อเหตุโดยใช้อาวุธในพื้นที่อย่างเด็ดขาด
ณ.ห้องประชุมชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม




Loading