วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

เดอะโอ๋ !!! ประธาน ประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 3/2566 ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี

เดอะโอ๋ !!! ประธาน ประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 3/2566 ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี

วันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 3/2566
โดยมี พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วรายุทธ สุขวัฒน์รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ รอง ผบช.ภ.7 พร้อมด้วย พล.ต.ต.จักรกฤษ เครือสุนทรวานิช ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.จักษ์ จิตตธรรม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.วชิรพงษ์ อมราพิทักษ์ ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ ผบก.กค.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 และรอง ผบก.ฯ ผกก.ในสังกัด ภ.7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

โดยก่อนการประชุม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 ได้มอบโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติคุณ ด้านป้องกันปราบปรามและด้านสืบสวนกรณีพิเศษ ของ สภ.ดำเนินสะดวก จว.ราชบุรี และ สภ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม สภ.ที่ได้รับคัดเลือกวีดีทัศน์นำเสนอการดำเนินโครงการ “เจดีย์พิทักษ์ @7 ” ดีเด่น ของสภ.เมืองสุพรรณบุรี จว.สุพรรณบุรี สภ.ท่าไม้รวก จว.เพชรบุรี และ สภ.ไร่สะท้อน จว.เพชรบุรี
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวในการประชุมโดยได้สั่งการเน้นย้ำให้ทุกหน่วยปฏิบัติ 1.การทดสอบความรู้สำหรับการเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้า สภ. และการทดสอบความรู้เพื่อทดแทนประสบการณ์งานสอบสวน ระดับ สว. – ผกก. ตร. จะปรับแนวข้อสอบให้เหมาะสมเป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการตำรวจ เตรียมความพร้อมทบทวนความรู้ และติดตามประกาศกำหนดวันสมัครและวันสอบเมื่อ ตร.ปรับปรุงคลังข้อสอบแล้วจะลงเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ของ รร.นรต. เพื่อให้ผู้มีสิทธิเข้าสอบมีเวลาศึกษาและเตรียมตัวก่อนถึงวันสอบ 2.การประเมินผลความพึงพอใจของประชาชน ตร. จะประเมินผลความพึงพอใจของประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เดือน มี.ค.66 และครั้งที่ 2 ห้วงเดือน พ.ค. – ก.ค.66 เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา และนำผลการประเมินไปใช้ตามหลักเกณฑ์ ก.ตร. ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 โดยจะทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ 1.ความพึงพอใจของประชาชนในหัวข้อ – การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน – การปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปราม – การปฏิบัติงานด้านงานจราจร 2.ความพึงพอใจของผู้เสียหาย ด้านงานสอบสวน และการให้บริการในสถานี 3.ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ การรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191

จึงให้หัวหน้าสถานีทุกหน่วย กำชับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบนโยบายดังกล่าว และปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ดูแลประชาชนให้มีประสิทธิภาพ และเต็มกำลังความสามารถ 3.การปฏิบัติในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ตร.ได้มีหนังสือสั่งการที่ 0007.22/438 ลง 2 ก.พ.66 กำหนดแนวทางปฏิบัติในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด เน้นย้ำให้ทุกหน่วยถือปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าวโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ Body Camera ในการปฏิบัติงาน ณ ด่านตรวจ และจุดตรวจ รวมถึงการแต่งกายให้สวมเครื่องแบบทุกนาย ให้ผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบงาน ปป. จร. และ จเร ควบคุมกำกับดูแล และสุ่มตรวจให้เป็นไปตามข้อสั่งการ หากพบการทุจริตให้ดำเนินการทางวินัยตั้งแต่ หน.ด่าน จนถึง หน.สภ. รวมถึงเวรอำนวยการด้วย หากการทุจริตเกิดจากการปล่อยปละละเลยของผู้บังคับบัญชาให้พิจารณาโทษ รอง ผบก. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และ ผบก. ด้วย โดยจะให้ จต. ออกสุ่มตรวจการปฏิบัติของแต่ละหน่วยตามที่ ตร.กำหนด และให้ สยศ.ตร. สรุปผลการสุ่มตรวจของ จต.นำเสนอในที่ประชุมบริหาร ตร.ตั้งแต่เดือน มี.ค.66 เป็นต้นไป 4.การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบนสถานีตำรวจชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งกำหนดแนวทางในการจัดตั้งไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 4.1ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำสถานีตำรวจ 4.2 ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนประจำสถานีตำรวจให้แต่ละ จว.กำกับดูแล ให้ทุก สภ.จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยให้ครบทุกหน่วย ภายในเดือน มี.ค.66 ให้ บก.กค.ภ.7 ทำหน้าที่แนะนำให้คำปรึกษา และรวบรวมผลการดำเนินการรายงานให้ ตร.ทราบ 5.การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2566 หัวหน้าหน่วยทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับงบประมาณ ควบคุม กำกับ ดูแล เร่งรัดติดตามการใช้จ่าย และเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล อย่าให้เกิดงบพับอย่างเด็ดขาด รายจ่ายลงทุนให้ปรับแผนการดำเนินงานให้รวดเร็วขึ้น

 

ควรก่อหนี้ผูกพันทุกรายการ ก่อนสิ้นไตรมาสที่ 3 เป็นอย่างช้า 6.เรื่องเงินกองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวน ป้องกันการกระทำความผิดทางอาญา สงป. ได้โอนเงินเข้าบัญชี 1,700 หน่วย ไตรมาสที่ 1 จำนวนเงิน 214 ล้านบาทเศษ และค่าส่งตัวผู้ต้องหา 5 ล้านเศษ ตามมติประชุมคณะกรรมการบริหารฯ เรียบร้อยแล้ว ให้หน่วยนำไปใช้จ่าย เพื่อเร่งรัดสืบสวนติดตามคดี ตามระเบียบฯ โดยเคร่งครัด (ห้ามไปแบ่งจ่ายลักษณะเงินผดุงเกียรติเด็ดขาด) 7.การเลือกตั้ง ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ วันเลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิในวันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. สถานที่เลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ กกต.จังหวัด จำนวน ๑ หน่วย / ๑ คูหา ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดให้มีเจ้าหน้าที่ รปภ.ประจำสถานที่เลือกตั้งให้เรียบร้อย โดยให้ผู้มีหน้าที่ประสานกับ กกต.จังหวัด ให้เรียบร้อย และ แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ รปภ.ให้เรียบร้อย โดยขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน ไปลงคะแนนเลือกตั้ง และห้ามผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใด สั่งการ ข่มขู่ หรือชักจูงด้วยประการใดๆ เพื่อให้เลือก หรือมิให้เลือกผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน (พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 26 ) 8.เรื่องการเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้ง ขณะนี้ใกล้เวลาที่จะเลือกตั้งในห้วงเดือน พ.ค.66 ให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมกำหนดแผนการดำเนินงาน และกรอบ Time Line การปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ บก.กค.ภ.7 เตรียมรวบรวมข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ทุกหน่วยต้องเตรียมความพร้อมโดยให้ถอดบทเรียนการดำเนินการจากการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2562 มาเป็นข้อมูลในการปฏิบัติ 9.กำชับการปฏิบัติ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสืบค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์

ให้ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด การสืบค้นต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตามภารกิจของหน่วย ผู้สืบค้นต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หรือให้ความเห็นชอบ และระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายของต่อเจ้าของข้อมูล กรณีปรากฏว่าเข้าสืบค้นข้อมูลโดยมิชอบ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาข้อบกพร่อง โดยเคร่งครัด 10.เรื่องหมายจับตามปฏิทินหมายจับที่ใช้ตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 240 หมาย ตร.แบ่งให้ 12 บช./ภ. เท่ากัน 20 หมาย จับกุมไปแล้ว 110 หมาย ยังคงเหลือ 130 หมาย ในส่วนของ ภ.7 จำหน่ายไปจำนวน 4 หมาย คงเหลือ จำนวน 16 หมาย ผลการปฏิบัติที่จับได้เพิ่มเติมห้วง มี.ค.65 – ม.ค.66 จำนวน 1 หมาย จึงกำชับทุกหน่วยให้เร่งรัดดำเนินการ 11.ผลการออกหมายแดงที่แต่ละหน่วยส่งไป ตท. ตั้งแต่ ม.ค.65 – ธ.ค.65 จำนวนหมายที่ขอมาทั้งหมด 478 หมาย ตท. พิจารณาไม่เข้าหลักเกณฑ์ 123 หมาย ตท. พิจารณาเข้าหลักเกณฑ์ 352 หมาย ออกหมายแดงได้ 52 หมาย ปฏิเสธการออกหมาย 3 หมาย คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 297 หมาย ในส่วนของ ภ.7 จำนวนที่ส่ง ตท. จำนวน 8 หมาย ไม่เข้าหลักเกณฑ์ 1 หมาย ที่เข้าหลักเกณฑ์ จำนวน 7 หมาย สำหรับหมายที่เข้าหลักเกณฑ์ ให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 12.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ กวดขัน กำกับ ดูแล สอดส่องความประพฤติ และพฤติกรรมของข้าราชการตำรวจภายใต้การปกครองบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง แบบแผนธรรมเนียมของทางราชการอย่างสม่ำเสมอโดยใกล้ชิด และสร้างขวัญกำลังใจ ความสามัคคี ภาพลักษณ์ของตำรวจให้ดีขึ้น และสร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชนเพื่อให้ยอมรับว่าข้าราชการตำรวจเป็นมิตรที่ดีของประชาชน เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริงตามคำสั่งกรมตำรวจ ที่ 1212/2537 ลง 1 ต.ค. 2537 เรื่อง มาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและวินัยข้าราชการตำรวจ
ณ.ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม

Loading