เปิดทางเลือกขนส่งผลไม้ไปจีน เพิ่มช่องทางราง กระจายสินค้าจากมาบตาพุด-กวางโจว

07 เม.ย. 2023
621

จ.จันทบุรี เปิดทางเลือกขนส่งผลไม้ไปจีน เพิ่มช่องทางราง กระจายสินค้าจากมาบตาพุด-กวางโจว ถูกกว่า เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า

วันนี้ ( 7 เม.ย.66 ) ที่ห้องประชุมโรงแรมมณีจันท์รีสอร์ทแอนสปอตคลับ อ.เมืองจันทบุรี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดงาน ROAD SHOW ส่งเสริมการส่งออกทุเรียนไทยทางรถไฟ สู่ประเทศจีน ที่บริษัทภาคเอกชนมานำเสนอแก่ผู้เกี่ยวข้องในการกระจายผลผลิตผลไม้ของเกาตรกรจันทบุรีไปตลาดปลายทางที่ประเทศจีน โดยมี หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง / ผู้แทนหอการค้าจังหวัด / สภาอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ผู้แทนผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้ส่งออก ล้งผลไม้ ผู้แทนเกษตรกร และ สหกรณ์ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมสัมมนารับทราบข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ทั้งนี้ในปีนี้ทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกจะให้ผลผลิตประมาณ 7 แสนกว่าตันโดยเป็นผลผลิตทุเรียนของเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีประมาณ 5 แสนกว่าตัน จังหวัดตราด 1 แสนตัน และจังหวัดระยองประมาณ 1 แสนตัน และขณะนี้กำลังเริ่มเก็บผลผลิตและมีการส่งออกไปต่างประเทศแล้วประมาณ 4 พันตู้ เป็นการขนส่งทางรถยนต์ร้อยละ 70 ทางเรือร้อยละ 10 ทางเครื่องบิน และรถไฟเพียงเล็กน้อย การนำเสนอข้อมูลช่องทางขนส่งสินค้าของบริษัท แพน เอเชีย ซิค์ โรด จำกัด (PAS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) , บริษัท โกลบอล มัลติโมคัลโลสติกส์ จำกัด (GML) และมหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาเขตจันทบุรีนับเป็นหนึ่งในการขนส่งที่สำคัญของไทยและมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลต่างๆในจีนบริษัท PAS จะเน้นให้บริการร่วมกับพันธมิตรในการให้บริการ Door to Door หรือจากล้งทุเรียนถึงตลาดขายผลไม้ปลายทางที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

รวมทั้งทำเอกสารพิธีการทางศุลกากรและเสียภาษีขาเข้า-ออกระหว่างประเทศ นอกจากนี้ PAS ได้จัดเตรียมตู้เย็นคอนเทนเนอร์สำหรับส่งออกผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน , มังคุดและอาหารทะเลแช่เข็งทั้งปี แก่ผู้ส่งออกสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2566 ประมาณ 700-1,000 ตู้เทนเนอร์ ที่สามารถใช้บริการขนส่งทางรถไฟตลอดเส้นทางระหว่างประเทศไทยสู่สาธารณรัฐมีเส้นทางมาบตาพุด – คุณหมิง ใช้ระยะเวล1 3-4 วัน , มาบตาพุด – ฉงชิ่ง ใช้ระยะเวลา 4-5 วัน มาบตาพุด – กวางโจว ใช้ระยะเวลา 5-6 วันโดยจะเริ่มให้บริการเดินรถไฟจากประเทศไทยทุกวันๆละ 1 ขบวน โดยขบวนจะบรรทุกตู้เย็นคอนเทนเนอร์ได้ 30 ตู้ และจะเพิ่มปริมาณขบวนรถไฟตามสินค้าผู้ส่งออก โดยตั้งเป้าปีนี้จะจัดรถไฟบรรทุกสินค้าขาขึ้นและขาลงระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ได้สูงสุด 4 ขบวนต่อวัน โดยมีขบวนวิ่งทุกวันภายใต้คำจำกัดความที่ว่า “ถูกกว่า เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า”อย่างไรก็ตาม การเดินรถไฟสินค้าทุเรียนสายประวัติศาสตร์ มาบตาพุด-กวางโจว สาธารณรัฐประชาชนรกจะเดินทางในวันที่ 19 เมษายนนี้ และคาดว่าจะใช้เวลาในการเดินทางทั้งสิ้นประมาณ 6 วันจากสถานีรถไฟมาบตาพุด-หนองคาย-VLP-บ่อเต็น-โม่หาน-สถานีรถไฟกวางโจว ถือเป็นทางเลือก เพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้ากระจายไปต่างประเทศเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและสร้างรายได้เข้าประเทศ

อย่างไรก็ตามผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรียืนยันผลผลิตทุเรียนของจังหวัดจันทบุรีในปีนี้ราคาดี เพราะเกษตรกร และทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการควบคุมผลผลิตคุณภาพส่งไปขายในประเทศจีน สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดี และสินค้าเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ มาตรฐาน จึงขอให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับกลไกการผลิตและส่งออกรักษามาตรฐานที่ดีนี้ไว้ตลอดไปเพื่อความยั่งยืนเป็นการป้องกันคู่แข่งทางการค้าที่พร้อมแทรกแซงแย่งตลาดทุเรียนของเกษตรกรเมืองจันท์

 

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก

Loading