วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดกิจกรรมแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ ครั้งที่ 2

ศรีสะเกษ !! ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดกิจกรรมแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 เวลา 19.00 น ที่เวทีกลางถนนคนเดินศรีสะเกษ-มารีหนองแคน อำภอเมืองศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดกิจกรรมแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จน คนศรีสะเกษ ครั้งที่ 2 โดยมี รศ.คร.พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผศ.ดร.สหัสา พลนิล ผศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น ผศ.พนิดา พานิชกุล ผศ.ดร.อนุวัตน์ ศรีสุวรรณ์ ผศ.ธีรพงศ์ สงผัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้แทนหน่วยสนับหนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษและสื่อมวลชลจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดแสดงผลงานการวิจัยออกสู่สาธารณะและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย เพื่อระดมทุนกองทุนน้ำยั่งยืนเพื่อสวัสติการครัวเรือนคนจนและคนด้อยโอกาส เพื่อจัดเวทีการสนทนาประเด็นแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนต่อไป

รศ.คร.พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏตรีสะเกษ ได้ตระหนักถึงบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และมีพันธกิจที่สำคัญคือการวิจัยและสร้างนวัดกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2566-2570 ประเด็นการพัฒนาที่1 เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานอย่างครบวงจรและประเด็นการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาเมืองน่าอยู่สู่คุณภาพชีวิตประชาชนในทุกมิติ ในปีงบประมาณ2565 มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่องการวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัดศรีสะเกษ ระยะที่3 จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมี ผศ.ดร.สหัสา พลนิล เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย พื้นที่เป้าหมายการวิจัย คืออำเภอเมืองศรีสะเกษ ในการพัฒนาพื้นที่ตันแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นโมเดลแก้จน (OM) ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่รวมกลุ่มเป้าหมาย 770 ครัวเรือน ดำเนินการ 4 โครงการ ได้แก่ การแปรรูปผักกะแยงแบบประหยัดน้ำและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยกระบวนประหยัดน้ำสำหรับแก้ไขปัญหาความยากจน ผ้าทอศรีลำดวน:ทุนทางวัฒนธรรมบนความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนคนจน การบริหารจัดการกองทุนน้ำยั่งยืนเพื่อสวัสดิการครัวเรือนคนจนและคนด้อยโอกาส อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งการดำเนินการวิจัยดังกล่าวได้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับจังหวัด/ระดับอำภอ องค์การบริหารส่วนตำบล 18 พื้นที่ อำเภอเมือง ผู้นำซุมชน และกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกโครงการด้วยดีทุกประการ


ข่าว/ภาพ…… บุญทัน-ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Loading