วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

เดอะโอ๋ !!! ประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 4 / 2566 “ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี ”

เดอะโอ๋ !!! ประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 4 / 2566 “ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี ”

วันนี้ 11 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 4 / 2566
โดยมี พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.จักรกฤษ เครือสุนทรวานิช ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.ดร.จักษ์ จิตตธรรม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.วชิรพงษ์ อมราพิทักษ์ ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ ผบก.กค.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 พร้อมรอง ผบก.ภ.จว.ทั้ง 8 จังหวัด ผกก.หัวหน้าสถานีทั้ง 104 สถานี ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 

โดยก่อนการประชุม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 ได้จัดพิธีมอบโล่รางวัล และ มอบใบประกาศเกียรติคุณด้านป้องกันปราบปรามและด้านสืบสวนกรณีพิเศษ ของ สภ.โพธาราม จว.ราชบุรี พิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการพิเศษ(อินทรี 7) กรณีเข้าระงับเหตุชายคลั่ง ใช้อาวุธปืนยิงกระหน่ำเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 3 ราย ในพื้นที่สภ.เมืองเพชรบุรี เมื่อค่ำวันที่ 22 มี.ค. 66 พิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ พ.ต.อ.ภูภณ ทัพเจริญ ผกก.สภ.เมืองนครปฐม กรณีเข้าชาร์จช่วยชีวิตชายคิดสั้นอุ้มลูกพยายามกระโดดสะพาน เมื่อวันที่ 4 เม.ย.66

พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวในประชุมโดยได้สั่งการเน้นย้ำให้ทุกหน่วยปฏิบัติ 1.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เดิม ครม. ได้ออก พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ขยายระยะเวลาการบังคับใช้เรื่องการบันทึกภาพและเสียงต่อเนื่องในชั้นจับกุม และควบคุม ออกไปจนถึง 30 ก.ย.2566 ต่อมา สภาผู้แทนราษฎรได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายของ พ.ร.ก.ดังกล่าว โดยผลวินิจฉัยอาจส่งผลให้ ตร. ต้องบังคับใช้เรื่องการบันทึกภาพและเสียงเร็วขึ้นกว่ากำหนด คาดว่าอาจเป็นช่วง พ.ค.2566 หรือ ก.ค. – ส.ค. 2566 ซึ่งตร.กำลังดำเนินการเร่งรัดจัดหากล้องอุปกรณ์ให้ทันเวลา และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม จึงให้แต่ละ ภ.จว.ที่มีอำนาจในการจับกุม ควบคุม สำรวจสถานภาพอุปกรณ์กล้องบันทึกภาพ กรณีกฎหมายต้องบังคับใช้ก่อนกำหนด ให้จัดสรรอุปกรณ์ให้สายงานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุม ควบคุม เป็นหลักก่อน จัดลำดับความสำคัญของ สืบสวน,สายตรวจ และ จราจร 2.การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำสถานีตำรวจ ให้ทุกหน่วย รวบรวมสถิติการไกล่เกลี่ยคดีที่ดำเนินการ

 

โดยศูนย์ไกล่เกลี่ยของแต่ละหน่วย ว่ามีกี่คดี สำเร็จกี่คดี รวมทั้งประเมินผล ปัญหาอุปสรรค เสนอให้ทราบเพื่อเสนอตร.ประกอบการพิจารณาขยายการดำเนินการโครงการต่อไป 3.มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน การบังคับใช้กฎหมาย และการอำนวยการจราจรช่วงสงกรานต์ พ.ศ.2566 ให้ทุก สภ.ร่วมกับฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อสม.และ สสจ.จัดทำข้อมูลบัญชีกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางที่ ตร.กำหนด ได้แก่ บัญชีบุคคลเสี่ยง (เมาสุรา/ไม่มีใบขับขี่/ไม่สวมหมวก) บัญชีร้านค้าเสี่ยง (จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ได้รับอนุญาต จำหน่ายเกินเวลา และอื่น ๆ ) สถานที่เสี่ยง ( จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง/สถานที่จัดงานรื่นเริง ) และให้ประชาสัมพันธ์เชิงรุกและเฝ้าระวังบุคคลดังกล่าว เพื่อป้องปรามก่อนเกิดเหตุ หลีกเลี่ยงหรืองดส่งกำลังพลไปประจำจุดบริการประชาชน รวมถึงหารือ และให้คำแนะนำกับภาคีเครือข่ายใน จว. เพื่อยกเลิกจุดบริการประชาชนที่ไม่เกิดประโยชน์ และให้นำกำลังไปปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์รูปแบบอื่น เช่นชุดเคลื่อนที่เร็ว เป็นต้น 4.การปฏิบัติในการ ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ให้ทุกหน่วยถือปฏิบัติตามหนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0007.22/438 ลง 2 ก.พ.2566 โดยเฉพาะการอนุมัติตั้งจุดตรวจ ต้องได้รับอนุมัติจาก ผบก. เท่านั้น และเจ้าหน้าที่จุดตรวจทุกนายต้องมีการใช้กล้อง Body Camera อุปกรณ์ต้องเป็นไปตามที่ ตร. กำหนด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อาจต้องตั้งจุดตรวจเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องดำเนินการเรื่องกวดขันวินัยจราจร และดูแลป้องกันอาชญากรรม ให้ทุกหน่วยจัดทำแผนการตั้งจุดตรวจแต่ละประเภทให้เหมาะสม หากอุปกรณ์ในการตั้งจุดตรวจไม่เพียงพอ ให้เสนอขึ้นมา เพื่อภ.7จะได้เสนอไปยัง ตร.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป 5.การแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการตำรวจ ให้ทุกหน่วยเร่งรัดดำเนินการให้แก่ข้าราชการตำรวจที่เข้าร่วมโครงการ

 

ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และกรอบระยะเวลา ใช้กลไกของสหกรณ์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และให้ทุกหน่วยไปสำรวจข้าราชการตำรวจในสังกัดว่ายังมีปัญหาหนี้สิน และยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการอยู่อีกจำนวนเท่าใด และประชาสัมพันธ์ให้เข้าร่วมโครงการทุกราย ให้ทุกหน่วยนำเงินสาธารณะประโยชน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตำรวจอย่างแท้จริง เช่น การนำมาใช้เป็นทุนการศึกษาบุตรของข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย และพิจารณาจัดสรรให้เกิดความเท่าเทียมและทั่วถึง กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หักเฉลี่ยคืนไม่ควรเกินร้อยละ 6 , 6.การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ให้ทุกหน่วยดำเนินการ ดังนี้ – ตรวจสอบพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ส่วนบุคคล ที่มีเบาะแสหรือพื้นที่กลุ่มเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม หากพบให้รวบรวมพยาน หลักฐานดำเนินคดีเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด – ให้แต่ละ จว. ประสานข้อมูลกับอุตสาหกรรม จว. ในพื้นที่ร่วมดำเนินการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้มีการประสานการปฏิบัติ และพัฒนาทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินตามกฎหมายเรื่องดังกล่าว 7.เตรียมความพร้อมดูแลสถานการณ์ความมั่นคง ในการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค.2566 ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนไหวด้านกิจกรรมทางการเมืองหลายรูปแบบ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบัน หรือกระทำการที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ต่อสถาบันที่ไม่เหมาะสม จึงให้ทุกหน่วย สืบสวนหาข่าว และเฝ้าระวัง และวางมาตรการป้องกัน ดูแลสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ ป้องกันมิให้มีการเลื่อนไหวทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน 8.การแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ให้ทุกหน่วยดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้ – เพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่นำรถยนต์ที่มีลักษณะควันดำ รวมทั้งออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ ผู้ลักลอบเผาพืชไร่ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม/การก่อสร้างที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ – บูรณาการร่วมกับกรมขนส่งทางบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ และการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 9.ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ESS ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดทำช่องทางการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ผ่านระบบ Line official ซึ่งทำ MOU ร่วมกัน 4 หน่วยงาน ระหว่าง ตร., พม., คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระบบจะเปิดรับแจ้งเหตุจากประชาชนใน 5 กลุ่มความผิดได้แก่ 1.ขู่ว่าจะทำร้าย/ทำร้าย 2. กักขังหน่วงเหนี่ยว 3. เสี่ยงถูกละเมินทางเพศ 4.คลุ้มคลั่งก่อให้เกิดเหตุร้าย 5. มั่วสุ่มก่อให้เกิดเหตุร้าย และเริ่มใช้งานระบบเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2566 ที่ผ่านมา วิธีการปฏิบัติจะให้ประชาชนดาวน์โหลด LINE OA หลังพบเหตุ สามารถแจ้งในไลน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระงับยับยั้งได้ทันที และในไลน์จะมีสหวิชาชีพอยู่ด้วย ให้ รอง ผบช.และ รอง ผบก.(รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปราม) เข้าร่วมกลุ่มไลน์ของ ESS ของแต่ละจังหวัด และให้ศูนย์ 191 จังหวัด (ระดับ สว.) รอง ผกก.ป. และเจ้าหน้าที่ห้องวิทยุของทุก สภ. เข้าร่วมกลุ่มไลน์ ESS ของระดับสถานี 10.เน้นย้ำการปฏิบัติ กำชับการสืบค้นทะเบียนราษฎร ตามหนังสือ จตช.ที่ 0001(จตช)/44 ลง 9 ก.พ.2566) กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสืบค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด การสืบค้นต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตามภารกิจของหน่วย ผู้สืบค้นต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หรือให้ความเห็นชอบ และระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายของต่อเจ้าของข้อมูล กรณีปรากฏว่าเข้าสืบค้นข้อมูลโดยมิชอบ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาข้อบกพร่องโดยเคร่งครัด 11.กำชับการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์ ให้ทุกหน่วยปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ และจักรยานยนต์ โดยเพิ่มมาตรการการสืบสวนหาข่าว

 

ติดตามเคลื่อนไหวของคนร้ายและกลุ่มแก๊ง และบุคคลพ้นโทษ กรณีเกิดเหตุการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์ ให้เร่งสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐาน ตรวจสถานที่เกิดเหตุ กล้องวงจรปิด รวมทั้งตรวจสอบว่าเป็นการฉ้อฉลเพื่อเจตนาทุจริต หรือ นำรถไปจำหน่ายให้บุคคลที่ 3 หรือไม่ และห้ามข้าราชการตำรวจ นำรถต้องสงสัย รถของกลาง ที่ตรวจยึดไว้ไปใช้ประโยชน์ ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับกำกับดูแลพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด หากพบว่ามีการปล่อยปละละเลย หรือบกพร่อง จะพิจารณาข้อบกพร่องอย่างเด็ดขาด 12.แนวทางการป้องกันปราบปรามและกวาดล้างอาวุธปืน ให้กำหนดวงรอบในการตรวจค้นปราบปรามเชิงรุก แหล่งค้า ผลิต ประกอบ ซุกซ่อน ดัดแปลงอาวุธปืนผิดกฎหมาย แหล่งอบายมุข แหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น นักเลง อันธพาล สถานบริการ เน้นการครอบครอง และการพกพาอาวุธปืนรวมถึงผู้ลักลอบจำหน่ายอาวุธปืนออนไลน์ผิดกฎหมาย โดยให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม กำหนดการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด บนเส้นทางหลักและเส้นทางรอง เส้นทางล่อแหลม เพื่อตรวจค้นการลักลอบนำเข้าหรือขนส่งอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด เครื่องกระสุนปืน ทั้งนี้การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ ตร. ที่ 0007.22/438 ลงวันที่ 2 ก.พ.2566 กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดรวมทั้งระเบียบ และคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้อง สุ่มตรวจสถานบริการ สถานประกอบการที่ลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง เพื่อไม่ให้มีการพกพาอาวุธปืนเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว โดยดำเนินการในลักษณะหมุนเวียน และไม่ให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือกระทบต่อการประกอบธุรกิจจนเกินควร การตรวจยึดอาวุธปืนทุกกระบอก ทั้งมีทะเบียน หรือไม่มีทะเบียน ให้สืบสวนสอบสวนขยายผล หรือที่มา เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกราย หากมีการจับกุมผู้มีใบอนุญาตให้มี ใช้ หรือพกพาอาวุธปืน โดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้พนักงานสอบสวนแจ้งรายละเอียดการจับกุม ผลคดี และพฤติการณ์ที่อาจเป็นเหตุให้เพิกถอนใบอนุญาต ให้นายทะเบียนท้องที่พิจารณ กรณีมีการจับกุมเด็กซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ปกครอง ตาม พ.ร.บ.คุมครองเด็ก พ.ศ.2546 ด้วย 13.การเตรียมความพร้อมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานฯ ในห้วงเดือน เม.ย. 2566 ให้ทุกหน่วยกำหนดแผนกิจกรรมจิตอาสาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย และลดอุบัติเหตุทางถนนให้แก่ประชาชน ดังนี้ – การปรับปรุงภูมิทัศน์ ถนน เส้นทางสัญจร บริเวณจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ และการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน – การให้บริการประชาชนบริเวณขนส่งต้นทาง จุดรวมรถ จุดพักรถ สถานบริการน้ำมัน จุดตรวจ ด่านชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง การแนะนำเส้นทาง และการเสริมสร้างวินัยจราจร เป็นต้น – จัดชุดเคลื่อนที่เร็วสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย เช่น ชุดซ่อมเครื่องยนต์ของหน่วยงานอื่น การช่วยเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่เสียหายออกจากเส้นทางสัญจร เป็นต้น จัดกำลังตำรวจจิตอาสา และเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนทำความสะอาด จัดระเบียบ ฟื้นฟูสถานที่จัดกิจกรรม ให้กลับสู่สภาพเรียบร้อย

Loading