ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 !!! ติวเข้ม ทุกหน่วยในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 !!! ติวเข้ม ทุกหน่วยในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7

วันนี้ 11 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 จว.นครปฐมพล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 5 / 2566 โดยมี พล.ต.ท.บุญญฤทธิ์ รอดมา ผทค.พิเศษ ตร.รรท.รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ท.วรายุทธ สุขวัฒน์ ผทค.พิเศษ ตร.รรท.รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ รอง ผบช.ภ.7 พร้อม พล.ต.ต.จักรกฤษ เครือสุนทรวานิช ผบก.ภ.จว.นครปฐม โดยมี พล.ต.ต.จักษ์ จิตตธรรม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.วชิรพงษ์ อมราพิทักษ์ ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.เพชรบุรีพล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ ผบก.กค.ภ.7 รอง ผบก.ผกก.ในสังกัด ภ.7 พล.ต.ต.กฤษณะ สุขสมบูรณ์ ผบก.อก.ภ.7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยก่อนการประชุม พลตำรวจโท ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7ได้จัดพิธีมอบโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติคุณได้แก่ –

 

พิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณให้กับ ภ.จว.ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566 – พิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้มีผลการปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นประจำเดือน มีนาคม 2566 ด้านป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ร.ต.อ.ธนู รอดน้อย รอง สวป. สภ.ชะอำ จว.เพชรบุรี – พิธีมอบประกาศกียรติคุณด้านป้องกันปราบปรามและด้านสืบสวนกรณีพิเศษ ของ สภ.กระทุ่มแบน

พลตำรวจโท ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 กล่าวในที่ประชุมได้สั่งการเน้นย้ำให้ทุกหน่วยปฏิบัติดังนี้ 1.การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตามที่ จต.ได้ออกสุ่มตรวจ พบว่าในภาพรวมปฏิบัติได้ถูกต้องตามมาตรการที่ ตร. กำหนด แต่ยังมีบางหน่วยที่มีกล้อง Body Camera ไม่ครบถ้วน และไม่ลงระบบ TPCC จึงเน้นย้ำการปฏิบัติในการตั้งจุดตรวจ ทุกหน่วยจะต้องมีกล้อง Body Camera ให้ครบถ้วน ลงข้อมูลในระบบ TPCC ทุกครั้ง หากเป็นจุดตรวจกวดขันวินัยจราจร เมื่อออกใบสั่งแล้วจะต้องลงระบบ PTM ให้ครบถ้วนด้วย หัวหน้าจุดตรวจ ต้องเป็นชั้นสัญญาบัตร ระดับ สว. ขึ้นไป แต่กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หัวหน้าจุดตรวจอาจปรับเป็นระดับ รอง สว. ได้ โดยให้หน่วยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ เช่น จุดตรวจวัดมลภาวะในพื้นที่ กทม. ซึ่งจำเป็นต้องตั้งจำนวนหลายจุดตรวจเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น

สำหรับวัสดุอุปกรณ์ ตร. อยู่ระหว่างจัดหาอุปกรณ์สำคัญที่ขาดแคลนให้ เช่น ได้จัดสรรป้ายจุดตรวจแบบมีสัญญาณไฟ ให้กับ สน./สภ. ระดับ ผกก.ขนาดใหญ่ จำนวน 685 สถานี รวมจำนวน 685 ป้าย (ป้ายละ 17,500 บาท รวมเป็นเงิน 11.9 ล้านบาท) และอยู่ระหว่างจัดหาเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,484 ป้าย (เป็นเงิน 22.26 ล้านบาท) แจกจ่ายให้ สน./สภ.ที่เหลือให้ครบถ้วน (ลงนามในสัญญาเมื่อ 20 เม.ย. 66 ครบกำหนดส่งมอบภายใน 11 ก.ย.66) 2.โครงการธรรมนำใจ ตร. ได้จัดโครงการธรรมนำใจ โดยนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ หรือพระวิทยากร ที่เป็นที่เคารพศรัทธามาบรรยายธรรม ให้กับข้าราชการตำรวจในหน่วยงานที่มีสถานที่ทำการตั้งอยู่ใน ตร.โดยจัดเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ข้าราชการตำรวจ ได้เข้าใจหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติหน้าที่ จึงให้ทุก บช./ภ. บก./ภ.จว. พิจารณานำแนวทางของโครงการดังกล่าว ไปจัดกิจกรรม/โครงการ ของแต่ละหน่วย โดยปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของข้าราชการตำรวจในสังกัด และเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีในองค์กร โดยขอให้มีการจัดอย่างน้อย 3 เดือน ต่อครั้ง 3.โครงการฝึกอบรมส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ตร. อยู่ระหว่างจัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมจริยธรม และพัฒนาคุณธรรมข้าราชการตำรวจ สำหรับข้าราชการตำรวจที่กระทำการไม่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน หรือมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางวินัย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขการ ประพฤติปฏิบัติตน ปรับ Mind Set สร้างค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของคณะทำงานฯ พิจารณาจัดทำเนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลาการอบรม หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าอบรม จึงให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดทราบ โดยขอให้เน้นย้ำว่าโครงการมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกำลังพล เพื่อให้สามารถกลับมาประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.การเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง ตร. ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการฯ การจัดการเลือกตั้ง (ศลต.ตร.) และประชุมเปิดศูนย์ ฯ เพื่อเตรียมความพร้อมการปฏิบัติ โดย ผบ.ตร.ได้มีข้อสั่งการและเน้นย้ำดังนี้ 1) เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการข่าวและการสืบสวนสอบสวนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดีที่อาจก่อเหตุสร้างสถานการณ์ รวมถึงการป้องกันเหตุความไม่สงบเรียบร้อย การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง หรือการจัดกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมืองทุกพรรค ในพื้นที่รับผิดชอบ 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและให้วางตัวเป็นกลางทางการเมืองโดยเคร่งครัด ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษ แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง กรณีมีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่มีโทษทางอาญา ให้รายงานตามแบบฟอร์มการรายงานเหตุอุกฉกรรจ์ และสะเทือนขวัญและเหตุที่ต้องรายงานด่วน (แบบที่ 1) ให้ ตร.ทราบโดยด่วน 3) จัดทำแผนการปฏิบัติ เตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว แผนเผชิญเหตุ และการซักซ้อมการปฏิบัติ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และในวันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค.66 ซึ่งจะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ให้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยการจราจร และดูแลความปลอดภัยทุกขั้นตอนการปฏิบัติ 4)ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ควบคุม กำกับ ดูแล และอบรม เพื่อให้มีความเข้าใจข้อกฎหมายและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และให้ ผบก. ออกตรวจเพื่อให้คำแนะนำ ซักถามจากผู้ปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ 5.การตรวจเยี่ยมของ ผบ.ตร.โดย ผบ.ตร.จะออกตรวจเยี่ยมหน่วยเพื่อติดตามการปฏิบัติราชการตามนโยบาย ตร. และรับฟังปัญหา ข้อขัดข้อง โดยกำหนดหัวข้อการนำเสนอของหน่วยที่รับการตรวจเยี่ยมดังนี้ – นำเสนอตัวอย่างผลการปฏิบัติดีเยี่ยม – การดำเนินการตามแนวทางการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ – การตรวจเยี่ยมประชาชนทุกสัปดาห์ – การฝึกประจำสัปดาห์ – การแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ (ผลการจับกุม การยึดทรัพย์ การค้นหาผู้เสพ การแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนยั่งยืน) – การขับเคลื่อนศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (การพัฒนาการสืบสวน สอบสวน ปัญหาอุปสรรค ทั้งในส่วนของ ตร.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) – รายงานผลการปฏิบัติอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – ปัญหาข้อขัดข้อง 6.ให้ทุกหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติตามที่ กกต. ขอความร่วมมือในการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันเลือกตั้งทั่วไป 14 พ.ค. 66 ที่จะถึงนี้ 7.เตรียมการด้านการอำนวยความสะดวกการจราจร และการจัดบริเวณที่จอดรถให้กับผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่บริเวณหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วย อย่าให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด 8.เตรียมการด้านการรักษาความปลอดภัยบริเวณหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง การขนหีบบัตรเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเลือกตั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและเดินทางยากลำบาก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไปถึงเวลากลางคืน จึงขอให้เตรียมการดูแลรักษาความปลอดภัยในการดำเนินการโดยตลอดจนกว่าจะเสร็จสิ้น 9.เตรียมการด้านการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งอาจได้รับสนับสนุนจาก กกต. ให้แต่ละหน่วยเตรียมการจัดทำแผนรองรับการปฏิบัติ โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานด้วย 10.เตรียมการด้านการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง เมื่อมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายการเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่มีโทษทางอาญา หรือที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งและมีโทษทางอาญาเกิดขึ้น และมีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีดังกล่าว และรายงานให้ กกต. ทราบโดยเร็ว 11.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น กำชับให้ข้าราชการตำรวจในสังกัด ไม่ให้ดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นความผิดตามกฎหมาย อาทิเช่น ห้ามผู้ใดสำรวจความผิดเห็นของประชาชนโดยมีเจตนาไม่สุจริตมีลักษณะเป็นการชี้นำหรือมีผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเลือก หรือลงคะแนนไม่เลือก ผู้สมัคร หรือเปิดเผย หรือเผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนน 12.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น กำชับให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ดังนี้ – ไม่ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองใด ๆ – ไม่ใช้สถานที่ราชการในกิจการทางการเมือง – ไม่วิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลให้ปรากฏแก่ประชาชน

– ไม่แต่งกายเครื่องแบบราชการไปประชุมร่วมพรรคการเมือง หรือไปร่วมประชุมในที่สาธารณะใด ๆ อันเป็นการประชุมที่มีลักษณะทางการเมือง – ไม่ประดับเครื่องหมายพรรคการเมืองในเวลาสวมเครื่องแบบราชการ หรือในเวลาราชการ หรือในสถานที่ราชการ – ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าไปในสถานที่ราชการ – ไม่บังคับให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือประชาชนเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใด และไม่กระทำการในทางให้คุณให้โทษ เพราะเหตุที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือประชาชนนิยม หรือเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใดที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย – ไม่ทำการขอร้องให้บุคคลใดอุทิศเงินหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง – ไม่โฆษณาหาเสียงเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง หรือแสดงการสนับสนุนพรรคการเมืองใด ๆ ที่เป็นการเปิดเผยในที่ประชุมพรรคการเมือง และในที่ปรากฏแก่ประชาชน หรือเขียนจดหมาย หรือบทความไปลงหนังสือพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือ หรือใบปลิวซึ่งจะจำหน่ายจ่ายแจกไปยังประชาชน อันเป็นข้อความที่มีลักษณะทางการเมือง – ไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อแทรกแซงในทางการเมือง หรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือเพื่อกระทำกิจการต่าง ๆ – ในช่วงที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดยปริยาย ที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง และในการกลับกันไม่กีดกัน ตำหนิติเตียน ทับถมหรือให้ร้ายผู้สมัครเลือกตั้ง
ณ.ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม

Loading