วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เตือนการระบาดศรัตรูพืชด้วงแรดมะพร้าว

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เตือนการระบาดศรัตรูพืชด้วงแรดมะพร้าว

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เตือนการระบาดศัตรูพืช ปีที่ 13 ฉบับที่ 20 เดือนสิงหาคม 2566 ด้วงแรดมะพร้าว ลักษณะการทำลายเฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืชโดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด ในระยะตัวหนอนส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

วิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
​1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยการเผาหรือฝังซากท่อนมะพร้าว หรือซากชิ้นส่วนของพืชและมูลสัตว์ ควรเกลี่ยกระจายบนพื้นดินไม่ให้หนาเกิน 15 ซม. ถ้าจำเป็นต้องกองทิ้งไว้เกิน 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง เพื่อตรวจหา ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของด้วงแรดแล้วกำจัด

​2. หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวตามโคนยอด หากพบรูให้ใช้เหล็กแหลมแทงด้วงแรดในรู เพื่อกำจัดด้วงแรด

​3. ใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัยมาทำลาย
​4. ใช้ราเขียวเมตาไรเซียม ใส่กองล่อ กองปุ๋ยหมัก หรือตอมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่
​5. การใช้สารเคมีกำจัด ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกชุ่ม จำนวน 1- 2 ครั้ง โดยใช้น้ำยาผสม 1 – 1.5 ลิตร/ต้น ห่างกัน 15 – 20 วัน- ไดอะซินอน 60% EC อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร – คาร์บาริล 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

 

 

Loading