วันเสาร์, 11 มกราคม 2568

พัฒนานครปฐมให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่มีอัตลักษณ์ด้านแปรรูปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และวัฒนธรรม

นครปฐม070967พัฒนานครปฐมให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่มีอัตลักษณ์ด้านแปรรูปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และวัฒนธรรม

วันที่ 7 กันยายน 2566 ที่จังหวัดนครปฐมนางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรมการป้องกันกำจัด แมลงวันผลไม้ด้วยวิธีผสมผสาน

โครงการพัฒนานครปฐมให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่มีอัตลักษณ์ด้านแปรรูปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และวัฒนธรรม โดยเกษตรกรมีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้โดยวิธีผสมผสาน ทั้งการรักษาความสะอาดแปลงปลูก การตัดแต่งกิ่งให้โปรง และการติดกับดักล่อเมทิลยูจินอล ซึ่งทำให้ผลผลิตถูกทำลายจากแมลงวันผลไม้ลดลงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุกสัปดาห์ 2. การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก โดยการการตัดแต่งกิ่งให้โปรง และทำลายผลไม้ที่เน่าเสีย 3. การห่อผลไม้ เป็นการป้องกันการเข้าไปวางไข่ในผลไม้ที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด4. การใช้สารล่อ 4.1 การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารล่อที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงวันผลไม้ สารเมทธิลยูจินอลใช้กับแมลงวันผลไม้ชนิด B. dorsalis และ B. correcta โดยผสมกับสารเคมีกำจัดแมลงและไซลีน อัตราส่วน 75 : 20 : 5 (โดยปริมาตร) เมื่อผสมสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้วัสดุที่ดูดซับของเหลวได้ดีและคงทนอยู่ได้นานจุ่มลงในสารผสม โดยทั่วไปนิยมใช้กาบมะพร้าวหรือแผ่นชานอ้อย ตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาด 4.5 x 4.5 เซนติเมตร จุ่มลงไปในสารผสมให้ดูดซับสารผสมไว้ในวัสดุจนชุ่ม

4.2 ลดประชากรแมลงวันผลไม้เพศเมียและเพศผู้โดยใช้เหยื่อพิษ ส่วนผสมของเหยื่อพิษ มีโปรตีนไฮโดรไลเสท 4 ส่วน มาลาไธออน (50%) 1 ส่วน ผสมให้เข้ากันแล้วเติมน้ำลงไป 95 ส่วน คนให้เข้ากัน นิยมใช้กัน 2 รูปแบบ คือ แบบพ่นเป็นจุด 2-4 จุดต่อต้น อัตรา 150-350 ซีซีต่อต้น ขึ้นกับขนาดของต้น โดยใช้หัวพ่นที่มีขนาดหยดใหญ่ 4-6 มิลลิเมตร หรือประมาณ 80 หยดต่อตารางเมตร และใช้เป็นกับดักเหยื่อพิษ ใช้ได้ทั่วไปและจะได้ผลดีเมื่อนำไปแขวนไว้ใกล้ผลไม้

5. การทำหมันแมลง จุดมุ่งหมายของวิธีการนี้คือ การกำจัดแมลงให้หมดไปจากพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องมีการเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก แล้วทำหมันแมลงเหล่านี้โดยการฉายรังสีแกมมา จากนั้นจึงนำแมลงที่เป็นหมันนี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณแมลงในธรรมชาติจนหมดไป แต่การกระทำด้วยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมากและก็ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกที่จะต้องคำนึงถึงการป้องกันการแพร่ระบาดเข้ามาใหม่ของแมลงและการที่แมลงศัตรูชนิดอื่นจะเพิ่มความสำคัญขึ้นมาอีกด้วย

 

Loading