วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

เกษตรจังหวัดนครปฐม”ชวนพี่น้องเกษตรกรทำกองล่อปราบด้วงแรดมะพร้าว

นครปฐม181066เกษตรจังหวัดนครปฐมชวนพี่น้องเกษตรกรทำกองล่อปราบด้วงแรดมะพร้าว

เกษตรนครปฐมชวนทำ กองล่อ (ปราบ) ด้วงแรดมะพร้าว วัสดุน้อย วิธีทำง่าย เกษตรกรทำได้แน่นอน

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 นางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม สาธิตวิธีการทำกองล่อกำจัดด้วงแรดในสวนมะพร้าว ให้เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ด้วงแรดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว โดยตัวเต็มวัยจะบินขึ้นไปกัดเจาะทางใบมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ เข้ากัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ เมื่อทางใบคลี่ออกพบร่องรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ทางใบหักง่าย ส่งผลให้ด้วงงวงมะพร้าวสามารถเข้ามาวางไข่บริเวณคอมะพร้าวตรงรอยเจาะของด้วงแรดมะพร้าวได้ หรือเป็นทางให้เชื้อสาเหตุโรคยอดเน่าเข้าทำลายได้ ส่งผลให้ต้นมะพร้าวยืนต้นตายในที่สุด

การใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมควบคุมด้วงแรด จึงเป็นวิธีการป้องกันกำจัดทางชีววิธีที่ได้ผลในระยะยาว ไม่มีพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม

จากการสอบถามเกษตรกรรุ่นใหม่ คุณเจี๊ยบ ศิริพร ฉันทะสันติ มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมจำนวน 4 ไร่ ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประสบปัญหาด้วงแรดเข้าทำลายมะพร้าวในพื้นที่จำนวนมาก ได้ทดลองกำจัดหลากหลายวิธี แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ต้องการ จึงได้ประสานงานกับเกษตรตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอสามพราน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม เพื่อขอแนวทางการจัดการตามหลักวิชาการ

จึงเกิดการเรียนรู้สร้างความเข้าใจและสาธิตการทำกองล่อกำจัดด้วงแรดในสวนมะพร้าวในวันนี้การทำกองล่อกำจัดด้วงแรด วัสดุน้อย วิธีทำง่าย เกษตรกรทำได้แน่นอนวัสดุที่หาง่าย ท่อนไม้ ขุยมะพร้าว ขี้วัว น้ำ และเชื้อราเมตาไรเซียม

วิธีทำ ทำกองล่อ โดยการนำท่อนไม้ทำกองขนาดกว้าง 1-2 เมตร ยาว 1-2 เมตร สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วทำการผสมขุยมะพร้าว และขี้วัว ให้เข้ากัน (อัตราส่วน 1 ต่อ 1) พร้อมพรมน้ำให้มีความชื้น (1 กอง ต่อเนื้อที่ 5 ไร่)นำเชื้อราเมตาไรเซียมไปละลายน้ำที่ผสมสารจับใบ ใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/กอง จากนั้นนำเชื้อราที่ละลายน้ำแล้วรดในกองให้ทั่วทั้งกองปิดกองด้วยทางมะพร้าว เพื่อเก็บความชื้นและไม่ให้โดนแสงแดดจัด หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ควรใส่เชื้อราเมตาไรเซียมเพิ่ม ทุก 3-6 เดือนและสำรวจปริมาณหนอนภายหลังการทำกองล่อแล้ว 1-2 เดือน จะเริ่มพบด้วงแรดมาวางไข่ เจริญเป็นตัวหนอน และถูกเชื้อราเมตาไรเซียมเข้าทำลาย โดยมีลักษณะเชื้อราสีเขียวเจริญอยู่บนตัวหนอนด้วยแรดมะพร้าวอีกด้วย

นางสาวจาฏุพัจน์ คำแน่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ผู้เขียน-รายงาน

Loading