วันอาทิตย์, 22 ธันวาคม 2567

ประชุมพหุภาคีของอำเภอดอนตูมเพื่อหาแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างวัด กับหน่วยงานราชการ

นครปฐมประชุมพหุภาคีของอำเภอดอนตูมเพื่อหาแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างวัด กับหน่วยงานราชการ

ที่จังหวัดนครปฐม ณ ที่ว่าการอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จัดประชุมพหุภาคีของอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ครั้งที่ 2/2567 โดยมีพระศรีธีรวงศ์ เจ้าคณะอำเภอดอนตูม เจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ พระอารามหลวง รักษาการเจ้าอาวาสวัดสามง่าม ประธานฝ่ายสงฆ์ นายนกเดช เกลียวศิริกุล นายอำเภอดอนตูม ประธานฝ่ายฆราวาส ดำเนินการประชุมระหว่างพระสังฆาธิการ กับหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อหาแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างวัด กับหน่วยงานราชการ

​การประชุมที่อำเภอดอนตูมเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกันของพหุภาคีที่ประกอบด้วยคณะสงฆ์ ฝ่ายราชการและฝ่ายภาคประชาสังคม โดยการชี้แจงจากทางอำเภอ ไปถึงผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) แนวคิดการทำงานแบบพหุภาคีระดับอำเภอ 2) เป้าหมายการทำงานแบบพหุภาคีระดับอำเภอ 3) บทบาท ของแต่ละฝ่ายในการทำงานแบบพหุภาคีระดับอำเภอ 4) ผลที่เกิดขึ้นกับพื้นที่จากการร่วมงานพหุภาคีทั้งระดับชุมชนและหมู่บ้าน

​งานบูรณาการ การขับเคลื่อนงานร่วมกันของพหุภาคี ระดับอำเภอ งานบูรณาการเพื่อการพัฒนา ที่เน้นการขับเคลื่อนงานร่วมกันของพหุภาคี โดยพิจารณาจากเป้าหมายการบูรณาการกับงานคณะสงฆ์ 16 เป้าหมาย ใน 3 โครงการหลัก โดยคัดเลือกเฉพาะเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของส่วนราชการ

1) โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มี 5 เป้าหมาย (ด้านศีลธรรม)
ร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมรักษาศีล 5
– สมาทานรักษาศีล 5
– ศีลข้อที่ 1 กิจกรรม ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ต่าง ๆ
– ศีลข้อที่ 2 กิจกรรม การบริจาคทาน การสาธารณสงเคราะห์
– ศีลข้อที่ 3 กิจกรรม การปฏิบัติธรรมถือศีล 8 บวชเนกขัมมะบารมี
– ศีลข้อที่ 4 กิจกรรม กล่าวปฏิญาณตนตั้งสัจจะวาจา ลด ละ อบายมุข
– ศีลข้อที่ 5 กิจกรรม กล่าวปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษาและยาเสพติด
ร่วมกันส่งเสริมการลดปัญหาอาชญากรรมภายในชุมชน
– กิจกรรม จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน ช่วยกันดูแลสอดส่องความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ให้เพียงพอกับความต้องการ
– กิจกรรม ติดตั้งวงจรปิดให้ทั่วถึงภายในหมู่บ้าน
– กิจกรรม ติดตั้งหลอดไฟแสงสว่างให้ทั่วถึงภายในหมู่บ้าน
ร่วมกันส่งเสริมการลดปัญหาการละเมิดสิทธิของสตรีและเด็กในชุมชน
– กิจกรรม ให้ความรู้ถึงโทษของการละเมิดสิทธิของสตรีและเด็กในชุมชน ติดป้ายประชาสัมพันธ์
จัดวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้
ร่วมกันส่งเสริมให้ชุมชนปลอดยาเสพติดและการพนัน
– กิจกรรม รณรงค์จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดและการเล่นพนัน
ติดป้ายประชาสัมพันธ์ จัดวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้
ร่วมกันส่งเสริมความปรองดอง สมานฉันท์ สันติสุขในชุมชน
– กิจกรรม จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน
2) โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข มี 6 เป้าหมาย
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางจัดประชุมพหุภาคีระดับหมู่บ้านและระดับตำบล ตลอดจนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน (ด้านสามัคคีธรรม)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจและเสริมความเข้าใจในการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ของชาวบ้าน (กตัญญูกตเวทิตาคุณ)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ ลด ละ เลิก การทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเสียทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (ด้านสุขภาพอนามัย)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นอุทยานการเรียนรู้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ด้านการศึกษา)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่รวมตัวทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนทุกช่วงวัย เช่น เยาวชน (เล่นกีฬา) ผู้สูงอายุ (เต้นรำ / ออกกำลังกาย) (ด้านสุขภาพอนามัย)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมพหุวัฒนธรรม การทำจักสาน การทอผ้า การเย็บผ้า การแต่งกาย ภาษาท้องถิ่น การรำ การขับร้องเพลงพื้นบ้าน (ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน)
​3) โครงการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) มี 5 เป้าหมาย
​ – ร่วมกันส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพและสร้างรายได้แก่ประชาชน (ด้านสัมมาชีพ)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นหน่วยปฏิบัติการช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยพิบัติในเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงทีด้วยการบริจาคสิ่งของ (ด้านสาธารณสงเคราะห์)
– ร่วมกันส่งเสริมการช่วยเหลือชาวบ้าน เด็ก เยาวชน ที่ทุกข์ยาก มีรายได้น้อยด้วยการแจกเครื่องอุปโภค บริโภค เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง หรือแจกทุนการศึกษา (ด้านสาธารณสงเคราะห์ และด้านศึกษาสงเคราะห์)
– ร่วมกันส่งเสริมให้ชุมชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัย” บนเงื่อนไข “ความรู้ คู่คุณธรรม” “ปลูกในสิ่งที่กินได้ เหลือก็ขาย มีมากก็แจกจ่ายแบ่งปัน” (ด้านสัมมาชีพ)
– ร่วมกันส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ช่วยลดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน โดยใช้พื้นที่ของวัดที่ว่าง เปิดเป็นตลาดนัดชุมชน (ด้านสัมมาชีพ)

 

ชนิดา พรหมผลิน/นครปฐม

Loading