วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

เกษตรกรนครปฐมออกติดตามเยี่ยมเยือนโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

นครปฐม080767เกษตรกรนครปฐมออกติดตามเยี่ยมเยือนโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

นางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม มอบหมายให้นายกมล แสงสีงาม หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมด้วย เกษตรอำเภอนครชัยศรี และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ออกติดตามเยี่ยมเยือนโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และแปลงนาข้าว พร้อมการให้คำแนะนำเรื่องของการตลาด เน้นย้ำการมองหาโอกาสจากปัญหาที่เกิดขึ้นในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลแหลมบัว ดังนี้

การมองหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เราสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาทำให้ดีกว่าเดิมและแตกต่างจากทั่วไปได้
การนำเสนอสินค้าที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยอาจนำเสนอในชุดที่เล็กลง เพื่อกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

การใช้ประโยชน์เรื่องเวลา ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลต่างๆ เพื่อหาโอกาสในการนำเสนอ/จำหน่ายสินค้า
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลแหลมบัว ประกอบอาชีพโดยการยึดหลักแนวทางในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร คือ การพึ่งตนเองเกษตรกรมีการปลูกข้าวไว้กินเอง จำหน่ายผ่านโรงสี และบรรจุจำหน่ายด้วยตัวเอง แนวทางในการทำงานนั้น ไม่ใช้เพียงแต่ทำข้าวปลอดสารพิษหรือข้าวอินทรีย์ไว้บริโภคเองและจำหน่ายให้คนในชุมชนเดียวกันเพียงเท่านั้น ยังมองเห็นอีกมิติหนึ่งคือการทำนาแบบเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ แนวคิดที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โดยมีงานบุญเนื่องในวันพืชมงคลของทุกปี เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2555 การรื้อฟื้นประเพณีรับกองข้าว และประเพณีการทำขวัญข้าว เพื่อให้วัฒนธรรมประเพณีนี้อยู่คู่กับชุมชน

ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลแหลมบัว มีหลักสูตรการเรียนรู้ ดังนี้
1. การผลิตเมล็ดพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์
2. การทำน้ำหมักชีวภาพ
3. การเรียนรู้ปศุสัตว์
4. การเรียนรู้ปลูกพืชในโรงเรือน
5. การแปรรูปข้าว
ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตข้าวแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงมีแปลงเรียนรู้ ให้เกษตรกรผู้สนใจเข้ามาศึกษาและนำความรู้ไปปรับใช้ โดยเน้นหลักการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าผลผลิตเป็นหลัก

 

 

Loading