วันเสาร์, 21 ธันวาคม 2567

ภายใต้เครื่องหมายคุณภาพสินค้าเกษตรนครปฐมการันตีให้มีมูลค่าสูงด้วยเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG

นครปฐม160967ภายใต้เครื่องหมายคุณภาพสินค้าเกษตรนครปฐมการันตีให้มีมูลค่าสูงด้วยเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐมจัดงานเสวนาและแสดงผลงานการผลักดันและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการภายใต้เครื่องหมายมาตรฐานนครปฐมการันตี กิจกรรมโครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงด้วยเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) จังหวัดนครปฐม

วันที่ 16 กันยายน 2567 นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมประธานเปิดงานเสวนาและแสดงผลงานการผลักดันและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการภายใต้เครื่องหมายมาตรฐานนครปฐมการันตี กิจกรรมโครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงด้วยเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมนางสาวอโรชา นันทมนตรี. รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมนายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมหัวหน้าส่วนราชการเกษตรกรณ ห้องทวารวดี 1 โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดีการจัดงานครั้งนี้

จากนั้นนางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐมว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานการผลักดันการพัฒนามาตรฐานนครปฐมการันตี ให้สาธารณะชนรับรู้ รับทราบ และเข้าถึงสินค้า ร่วมกันทบทวน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ระดับความสำเร็จ และกำหนดเป้าหมายร่วมในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ต่อไป
​​กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย

​​1. การจัดนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานนครปฐมการันตี การจัดแสดงตัวอย่างสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานวืนค้านครปฐมการันตี ประกอบด้วยสินค้าประเภทผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวสาร ผักสด ผลไม้สด พันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ สินค้าอาหารและการแปรรูป สินค้าทางด้านศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวสถานประกอบการร้านอาหารที่ได้รับการรับรอง

​​2. กิจกรรมการเสวนา ในหัวข้อ ความสำเร็จและการพัฒนามาตรฐานสินค้านครปฐมการันตรี โดยมีผู้ร่วมเวทีเสวนา ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนพัฒนามาตรฐานสินค้านครปฐมการันตี

ได้แก่ เกษตรจังหวัดนครปฐม พัฒนาการจังหวัดนครปฐม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครปฐม วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ผู้ประกอบการภาคเอกชนและเกษตรกร ได้แก่ คุณพันธพัฒน์ คุ้มวิเชียรผู้บริหารซุปเปอร์มาร์เก็ตกล้วยไม้ แอร์ออคิดส์ คุณธนกฤติ ไทยทวี ผู้ประกอบการสวนส้มโอไทยทวี อำเภอนครชัยศรี และคุณวันดี ไพรรักษ์บุญ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลไม้สดและผลผลิตแปรรูปบ้านดอนทอง ผู้ผลิตกล้วยแปรรูป “กล้วยเพลิน” อำเภอสามพราน โดยมีคุณประพจน์ ภู่ทองคำ พิธีกรรายการเหรียญสองด้านทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

​​3.การบรรยายวิชาการ เพื่อเสริมความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมงาน เรื่อง การพัฒนาสินค้าไทย ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ นครปฐมการันตรี/Nakhonpathom Guarantee” โดย ดร. วรัญญู ศรีเชียงราย หัวหน้าหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตจำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 120 คน เป็นผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้แทน จากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าและบริการภายใต้มาตรฐานนครปฐมการันตี

การดำเนินงานการพัฒนามาตรฐานสินค้านครปฐมการรันตี มีจุดเริ่มต้น จากอะไรการพัฒนาและผลักดัน การสร้างสินค้า ภายใต้ตราสัญลักษณ์มาตรฐานนครปฐมการรันตรี ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 นั้น

​​ในตอนเริ่มต้นเรามุ่งพัฒนาสินค้าเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าด้านการเกษตร ด้วยเหตุที่ว่า พื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่สำคัญและมีศักยภาพ เป็นแหล่งผลิตอาหาร ทั้งด้านการเกษตรและการแปรูป

​​ผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม เราส่งขายในตลาดกลางและกระจายสู่ผู้บริโภคทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และบางส่วนได้มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็น พืชผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าประมง และปศุสัตว์ ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ ในกลุ่มกล้วยไม้ และไม้ใบ
​​สิ่งที่เรามุ่งเน้นในการพัฒนาและให้การรับรองมาตรฐานสินค้านครปฐมการันตี คือเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย ตั้งแต่การเพาะปลูกในแปลง การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การบรรจุหีบห่อ จนถึงมือผู้บริโภค
​​ความปลอดภัยที่เราพูดถึง นอกจากความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัยของผู้บริโภคแล้ว ยังรวมถึงความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรผู้ผลิต สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย

การพัฒนาสินค้านครปฐมการันตีต้องอาศัยแรงผลักดันจากภาคส่วนได้บ้าง และมีวิธีการดำเนินการอย่างไรแรงผลักดันที่ส่งผลกระทบที่มากที่สุดของกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาสินค้าภายใต้มาตรฐานนครปฐมการันตี คือความร่วมมือและร่วมใจจากทุกภาคส่วน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ มีทัศนคติ และเป้าหมายเดียวกัน มีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดนครปฐมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อความกินดีอยู่ดีและสังคมที่เป็นสุขของชาวนครปฐม โดยแต่ละภาคส่วนก็จะมีภาระ และหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
​​
ในส่วนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ต้องเริ่มต้นมาจากความตระหนัก ให้ความสำคัญ และความจำเป็นที่จะพัฒนา การผลิตสินค้า เพื่อให้ได้คุณภาพ และมาตรฐานที่กำหนดในส่วนของภาคราชการ ที่ทำหน้าที่สนับสนุน พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ จนถึงการกำกับ ตรวจสอบและควบคุมการผลิต ให้ได้มาตรฐาน และเป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ และพัฒนากระบวนการ เพื่อการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานให้กับผู้ผลิต และผู้ประกอบการ
​​
สุดท้าย ส่วนสำคัญที่มีบทบาทในการพัฒนาสินค้า และเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการที่แท้จริง คือ ผู้บริโภค หรือกลุ่มลูกค้า คำติชม ข้อเสนอแนะของผู้บริโภค จะเป็นแรงสำคัญในการพัฒนาสินค้าและการผลิต ให้สามารถเดินต่อได้ตามความต้องการของตลาด ประกอบกับความจริงใน ความตั้งใจในการพัฒนา และความซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเอง

มาตรฐานสินค้านครปฐมการันตีรับรองอะไร ความมั่นใจของตราสินค้า ที่มอบให้กับผู้บริโภค คืออะไร
​​มาตรฐานสินค้านครปฐมการันตี รับรองคุณภาพ ด้านความปลอดภัย และคุณภาพของสินค้า ถ้าเป็นอาหารก็ต้องปลอดภัย ต้องอร่อย และถูกสุขอนามัย เป็นต้นดังนั้นผู้บริโภค จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ทุกชิ้น สินค้าที่ได้รับรองคุณภาพสินค้ามาตรฐานนครปฐมการันตี นอกจากจะเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานการผลิตสากลแล้ว ยังผ่านกระบวนการคัดเลือก และกลั่นกรองจากคณะกรรมการรับรองคุณภาพสินค้า อาหาร แหล่งท่องเที่ยว และการบริการ มาตั้งแต่ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด

ใครคือผู้ได้รับประโยชน์ จากการพัฒนามาตรฐานสินค้านครปฐมการันตี​​ผู้ที่ได้รับประโยชน์ จากการผลักดันมาตรฐานสินค้านี้ คือผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
ในด้าน ผู้บริโภค ก็จะได้ความมั่นใจว่า อาหาร สินค้า และบริการที่ได้รับ ทุกชิ้น มีคุณภาพ และปลอดภัย เนื่องจากสินค้ามีกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ตรวจสอบทุกกระบวนการผลิต

ในด้านผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ มีกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง และปลอดภัย มีประสิทฺภาพ และมีความมั่นคงในอาชีพในด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้วยกระบวนการผลิตที่ใส่ใจคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมจะเป็นจุดเริ่มในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่ยั่งยืนต่อไป ตามโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG

ตั้งแต่เริ่มต้นผลักดันและพัฒนามาตรฐานสินค้า เมื่อกลางปี 2566 ประสบความสำเร็จระดับไหนแล้ว มากน้อยแค่ไหนจากที่เราเริ่มดำเนินการพัฒนามาตรฐานสินค้านครปฐมการันตรี เราได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร โรงแรม และภาคเอกชนในจังหวัด ให้ความสนใจในการเข้าร่วม เป็นสินค้ามาตรฐาน นครปฐมการันตี มากพอสมควร แต่ยังไม่ทั้งหมด
​​
ในครึ่งปีแรก เรามุ่งเน้น ผลักดันในกลุ่มสินค้าเกษตร มีเกษตรกรที่สนใจ และสามารพัฒนากระบวนการผลิตจนได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 652 ราย และขยายผลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2567 เราขยายการให้การรับรองสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ สินค้าด้านการเกษตร สินค้าด้านอาหารและการแปรรูป ด้านท่องเที่ยวและบริการสินค้า ด้านหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน อีก 247 ราย
​​ณ วันนี้ เรามีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 899 ราย และยังอยู่ในระหว่างกระบวนการคัดกรอง ตรวจสอบและให้การรับรองอีกจำนวนหนึ่ง

การที่จะทำให้ตรามาตรฐานสินค้านครปฐมการันตรี มีความยั่งยืน ดำรงอยู่คู่กับชาวนครปฐมสืบไป นั้นต้องอาศัยอะไร หรือแรงผลักดันจากส่วนใดบ้าง
​​สิ่งสำคัญที่จะดำเนินการใดใด เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และให้ความสำคัญในสิ่งที่ดำเนินการอยู่และสำหรับการขับเคลื่อนสินค้ามาตรฐานนครปฐมการันตี จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการร่วมกันรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตให้สูงขึ้น ตัวผู้ผลิต ต้องรักษามาตรฐานการผลิต ของสินค้าและบริการ ส่วนหน่วยงานภาครัฐ หรือผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุม กำกับและขยายผลการดำเนินงาน ก็ต้องทำหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับ อย่างเข้มข้น ร่วมกันประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน ต่อไปในครั้งนี้

 

Loading