นครปฐม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแจงเรื่องทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุสงฆ์
เมื่อเวลา14.00 น. วันที่ 5 มิถุนายน 2560 ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 2 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากมีข่าวการฆ่าเณรที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งผลงคดีทำให้มีข่าวว่า เณรรูปนั้น ได้ทราบการทุจริต ภายในวัดจึงถูกฆ่า ซึ่งเป็นประเด็นดังกล่าวเป็นสาเหตุของการสอบถามถึง การจัดทำรายงานการเงินของวัดนั้นเป็นอย่างไรมีหรือไม่ซึ่ง ตามมติของมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18 / 2558 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 เรื่องทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุสงฆ์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่2พ.ศ. 2511 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อหกกำหนดไว้ว่าให้เจ้าวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดการประโยชน์ของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำ (บัญชีรายรับจ่ายเงินของวัด) และเมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจดูแลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง ต่อมาปีพ.ศ. 2549 รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ โดยมุ่งผลสำเร็จของงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา9 จึงกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฎิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น และให้จัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรในการกำหนดมาตราการกำกับการปฎิบัติราชการตามมาตรตรา12 ซึ่งสำนักงาน กพร.และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินของวัด เป็น2ตัวชี้วัด 1.เรื่องการจัดทำรายงานทางการเงินของวัด (บัญชีรายรับรายจ่าย)
2.ตัวชี้วัดเรื่องจำนวนวัดที่มีฐานข้อมูลศาสนสมบัติของวัดและมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัดครบถ้วนซึ่งในประเทศไทยมีวัด 32,000 วัด แต่จัดทำส่งข้อมูลในปี2559 เพียง 100 กว่าวัด ที่รายงานมาในการจัดทำตัวชี้วัดโดยไม่ใช่บทบังคับที่วัดจะไปปฎิบัติ จึงเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถจะเข้าตรวจสอบ ทรัพย์สินของวัดเพราะขั้นตอนต้องเข้าระบบข้อมูลข่าวสารในรูปแบบ และทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เร่งดำเนินการ หากต้องการปฎิรูปให้รวดเร็วก็ต้องอาศัยฝ่ายบ้านเมืองเข้ามาช่วยเหลือ สนับสนุน
ซึ่งทางด้านผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังกล่าวอีกว่า เพื่อให้สังคมได้ทราบว่า เรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริต ก็มี พรบ.สงฆ์ กำหนดให้ ทรัพย์สินของวัดนั้น มีสองอย่าง วัดนั้นยังอยู่ทรัพย์สินของวัดนั้นโดยเจ้าอาวาสวัดเป็นผู้ดูแล ถ้าวัดนั้นกลายเป็นวัดร้างทรัพย์สินต้องมีส่วนดูแลคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือวัดได้ถูกเพิกถอนเป็นวัดร้างทรัพย์สินนั้นจะกลายมาเป็นศาสนสมบัติกลางทันที และทรัพย์สินของวัดนั้นนั้นโดยสภาพหรือทางราชการ ได้ให้เงินอุดหนุนมาประชาชนบริจาคให้มามีวัตถุประสงค์ใดก็ต้องทำตามวัตถุประสงค์นั้น วัดมีหน้าที่ทำตาม และยังไม่มีระเบียบการจัดการทรัพย์สินของวัดและเงิน แบบแผนที่ดี หากวัดได้เงินมาก็ให้เอาเงินไปฝากบัญชีของวัด มีเจ้าอาวาสในการเบิกหรือกรรมการและพระรูปอื่นที่มีชื่อร่วมในบัญชี เพื่อไม่ให้เกิดการครหา หลายวัดก็จะให้มีฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆารวาส อย่างชัดเจน
และขณะกำลังแถลงข่าวเสร็จสิ้น ก็ได้มี นายธนวัฒนื มาลานนท์ กรรมการวัดพร้อมพระลูกวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร นำเอกสารและใบลงรายชื่อชาวบ้านในชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม กว่า200 รายชื่อ เกี่ยวกับการเบิกเงินวัดจำนวน 1,700,000 บาท ที่ฝากไว้ในธนาคาร เพื่อเป็นเงินจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูสุวิมล จันทรโชติ อดีตเจ้าอาวาสวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม ที่มรณภาพ โดยมีการเบิกถอนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธื ปีนี้จนถึง เดือนมีนาคม เหลือติดบัญชีเพียง 4,000 กว่า บาท ชาวบ้านจึงทวงถาม พระครูไพบูรณื กิจจาทร เจ้าอาวาสวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม องค์ปัจจุบัน ได้รับคำตอบว่านำไปเช่าวัตถุมงคลเพื่อเกงกำไร สร้างความไม่พอใจให้คณะกรรมการวัดและชาวบ้าน จึงลงรายชื่อมาร้องกับ ผอ.พศ. ก่อนจะไปร้องยังเจ้าคณะปกครองสงฆ์ที่รับผิดชอบต่อไป