นครปฐม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ใช้น้ำบ้านศาลาดิน ผลิตดิน พร้อมปลูกผสมผักตบชวา
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน60 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบ นายวันชัย สวัสดิ์แดง ประธาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ใช้น้ำมันศาลาดินซึ่งได้ผลิตดินพร้อมปลูกโดยใช้ผักตบชวาและรับซื้อผักตบชวาตากแห้งกิโลละ 20 บาท บ้านเลขที่ 58/2 ม.3 บ้านศาลาดิน อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ได้น้ำผักตบชวามาแปรรูปบรรจุกระสอบขายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
นายวันชัย สวัสดิ์แดง ได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่าการที่นำผักตบชวามาแปรรูปเพื่อแก้ปัญหาผักตบชวา แล้วรลำคลองและแบ่งเบาภาระให้กับหน่วยงานภาครัฐ. ทำให้มีแหล่งน้ำและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. จึงได้สร้างโรงเรือนบนเนื้อที่ 70 ตารางวาพื้นที่ใช้สอบ1งาน เพื่อทำผักตบชวานำมาทำดินพร้อมปลูกและบรรจุกระสอบขายถุงเล็กน้ำหนัก3 กิโลขายถุงละ 10 บาทถุงใหญ่จะขายเป็นตันตันละ 3300 บาทโดยใช้ส่วนผสมขี้เท่า1ส่วน แก๊บดิน(คอลำพรวน)1ส่วน ขุยมะพร้าว1ส่วน ผักตบชวาตากแห้งหนึ่งส่วนและหน้าดินบดหนึ่งส่วนเป็นส่วนผสมในการทำผลิตดินพร้อมปลูกผักตบชวา โดยมีชาวบ้านพายเรือเก็บผักตบชวาและเอามาไรตากแห้งจึงนำมาขายให้กับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนผู้ใช้น้ำบ้านศาลาดินในกิโลละ 20 บาท. เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการกำจัดผักตบชวาในหลักการ กุสโลบายในการกำจัดผักตบชวา ซึ่งสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเดือนละกว่า 40,000-60,000 บาทเลยทีเดียว
จากนั้นนายวันชัย สวัสดิ์แดง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ใช้น้ำบ้าน ศาลาดินในเขตชลประทานมหาสวัสดิ์ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวต่ออีกว่าปัญหาก็คือผักตบชวาเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนหน่วยราชการจะมาเก็บให้ทุกๆ6เดือนปีละ2ครั้ง แต่ก็เจอปัญหาทุก 45 วันผักตบชวาก็ไหลมาเต็มลำคลองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงได้รับคำสอน ศาสพระราชา บอกว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ไม่มีค่า จงอย่าไปมองว่าเป็นสวะจงมองอย่างคุณสมชัย วงษ์เจริญ(เจ้าของ วงศ์พาณิชย์)มองขยะ เป็นทองคำศาสตร์พระราชาสอนว่าจะทำอะไรก็ตามเรื่องภูมิสังคมเมื่อมองปัญหาผักตบชวาซึ่งทุกคนมองว่าไม่มีค่าเราเลยคิดเอามาสร้างมูลค่าโดยการรับซื้อผักตบชวาตากแห้งโลละ 20 บาท และนำมาผลิตนำผักตบชวามาผสมกับดิน-แกลบ-ขุยมะพร้าว และนำมา ขายให้กับชุมชนพอได้เงินมาก็เอามาเข้ากองทุนเพื่อเอาไว้บริหารจัดการน้ำและเอากลับไปซื้อผักตบชวาโดยเอาทั้งลากทั้งต้นมาสับ หั่นตากแห้งและเอามาขายให้ราคาคาโลละ 20 บาท เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนคนเฒ่าคนแก่ที่ได้เบี้ยยังชีพเดือนละ 700-800บาท หลายๆคน ยังบอกอีกว่าไม่พอกินจึงพากันพายเรือไปเก็บผักตบชวามาตากแห้งขายสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว รายได้ตกเดือนละ 2,000-4,000 บาท หลายท่านที่เป็นแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวก็เลิกขายหันมาเก็บผักตบชวาแล้วนำมาสับตากแห้งนำมาขายให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางคนที่ขยันๆ สร้างรายได้เดือนละกว่า 6000 บาทแล้วก็ยังมีกลุ่มชุมชนที่มาทำงานผสม ดิน ผักตบชวาก็จะได้ค่าแรงกันคนละ ถุงละ 2 บาทวันนึงก็ทำได้ 400 ถุงสร้างรายได้วันละ 800 บาทเป็นการสร้างงานสร้างรายได้จากผักตบชวาผลกำไรที่ได้หักต้นทุนเหลือกำไรถุงละ 1 บาท ก็จะนำมาเข้ากองทุนการจัดการน้ำนำมาใช้เรื่องการกำจัดผักตบชวา-อนุรักษ์คูคลอง ในช่วงน้ำท่วม-น้ำแล้ง-น้ำเค็ม เป็นค่านำมันเชื้อเพลิงเครื่องจักรอีกด้วย
ปนิทัศน์ มามีสุข นครปฐม