วัดดอนหวายจัดพิธีเปิดศาลาเจ้าแม่กวนอิมหินอ่อนขาว

วัดดอนหวายจัดพิธีเปิดศาลาเจ้าแม่กวนอิมหินอ่อนขาว


เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บริเวณศาลาเจ้าแม่กวนอิม ริมแม่น้ำท่าจีนวัดดอนหวาย หมู่5 ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


พระเมธีธรรมานันท์ เจ้าวาสวัดดอนหวาย เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมด้วย นายสมบูรณ์ เตชะสิรินุกูล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและที่หน้ากระถางธูป รูปปั้นแกะสลักเจ้าแม่กวนอิมหินอ่อนขาว สูง 9 เมตร หนัก 20 ตัน พร้อมคณะกรรมการและผู้มีจิตศรัทธา ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาเจ้าแม่กวนอิม ร่วมพิธีจำนวนมาก พร้อมนิมนต์พระสงฆ์9รูป เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล เจ้าแม่กวนอิมหินอ่อนขาว สูง 9 เมตร หนัก 20 ตันนี้ มีผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างแกะสลักจากหินอ่อนสีขาวจากประเทศจีนและอัญเชิญมาถวายวัดดอนหวายเพื่อให้สาธุชนได้สักการะ


กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn) เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์” เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ชาย


ธงชัย วัชดลชัย

Loading