ตราด-โครงการอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจําปี 2561 ณ.ศาลาหมู่บ้านหาดศาลเจ้า หมู่ 3 ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ท
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นส.กิจปภา ประสิทธิเวช นายกเทศบาลตําบลหาดเล็ก เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจําปี 2561 โดยมี นายสมชาย กิมสร้อย รองนายกเทศบาลตําบลหาดเล็ก กล่าวรายงานถึงโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ เทศบาลตําบลหาดเล็ก นักศึกษาฝึกงานคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตําบลหาดเล็ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จ.ตราด และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วม โดยมีนายศรวุฒิ ขาวคม ประธานกลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเข้าร่วมบรรยายเกี่ยวกับการทําสอนขั้นตอนการทําซั้งเชือกให้ถูกวิธี โดยผู้เข้าร่วมในพิธี สมาชิกสภาเทศบาลตําบลหาดเล็ก กํานันตําบลหาดเล็ก ผู้ใหญ่บ้าน ประมงอําเภอคลองใหญ่ พร้อมด้วยประมงพื้นบ้านตําบลหาดเล็ก โรงเรียนในพื้นที่ตําบลหาดเล็กจํานวน 3 โรงเรียน เข้าร่วมกว่า 100 คน
ทางเทศบาลตําบลหาดเล็กและนักศึกษาฝึกงานคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอีกหลายหน่วยงานได้ร่วมบูรณาการจัดงานโครงการอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นประจําปี 2561 ทางเทศบาลตําบลหาดเล็กและชุมชนตําบลหาดเล็กพร้อมด้วยประมงพื้นบ้านทะเลเป็นแหล่งผลิตอาหารประเภทโปรตีนที่สําคัญมาก การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรอย่างต่อเนื่องทําให้ประมาณความต้องการอาหารเพิ่มขึ่นเป็นเงาตามตัว การจับสัตว์นํ้าจากทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์มากขึ้นจนเกินศัยภาพการผลิตของธรรมชาติ ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์นํ้าวัยอ่อนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องปลูกฝังให้เด็กเยาวชนและประชาชนเกิดความตระหนักและมีความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรในอนาคต วัตถุประสงค์ เพื่ออนุรัก๋ษ์และปลูกจิตสํานึกเกี่ยวกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมภายในหมู่ที่ 3 บ้านหาดเจ้า เพื่อสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์นํ้าวัยอ่อน จึงได้มีการร่วมมือกันระหว่างนักศึกษาและชาวประมงพื้นบ้านบริเวณหมู่ 3 ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล โดยเครื่องมือที่นักศึกษาเลือกใช้เป็นตัวกลาง คือ หญ้าทะเลเทียม ซึ่งดัดแปลงจากซั้งเชือกที่หมู่ที่ 1 ได้มีการดําเนินการอยู่แล้ว การดัดแปลงก็เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่หมู่ 3 ที่เป็นประมงพื้นบ้านมรขนาดเล็ก หาสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่ง ดังนั้นการอนุรักษ์จึงใช้หญ้าทะเลเทียมที่มีขนาดเล็กกว่าซั้งเลือก เพื่อลดการขีดขวางอวนและการเดินเรือของชาวประมง เพื่อได้รับความรู้และสามารถนําไปปฎิบัติได้จริง จากนั้นหลังทําเสร็จสิ้นแล้วได้นําซั้งเชือกที่ได้ทํากันในวันนี้ ได่้นําลงเรือไปวางหว่างจากฝั่งประมาณ 200 เมตร ถึง 300 เมตร เท่านั้นเป็นการวางแนวรูปใหม่ของชุมชนในพื้นที่บ้านหาดศาเจ้า เพื่อการว่าทุ่นและซั้งเชือกไกล้ๆเพื่อลงไปวางสักระยะหนึ่งแล้วจะลงไปดําตรวจดูว่ามีผลตอบแทนหรือเปล่าในการวางที่อาศัยของสัตว์นํ้าทุกชนิด
ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์
รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก