วันเสาร์, 8 กุมภาพันธ์ 2568

คลิ๊กอ๊อฟรณรงค์ป้องกันและควบคุมพิษสุนัขบ้า

อำเภอห้วยทับทันออกอากาศสด Skype คลิ๊กอ๊อฟรณรงค์ป้องกันและควบคุมพิษสุนัขบ้า เร่งฉีดฉีดวัคชีนให้หมาและแมว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ศาลากลางบ้านบก-พอก ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ นายธวัช สุวรรณ นายอำเภอหัวยทับทัน และนายสัตวแพทย์ อภิชัย นาคีสังข์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันออกอากาศสด Skype คลิ๊กอ๊อฟรณรงค์ป้องกันและควบคุมพิษสุนัขบ้า เร่งฉีดฉีดวัคชีนให้หมาและแมว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) เวลา 08.30 น. โดยมีนายเรืองเดช หาญสุทธิชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับทัน นำอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า มาให้บริการทำหมัน–ตอน สุนัขและแมว ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับทัน ทั้งนี้ เพื่อให้สุนัขที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่หรือไม่มีเจ้าของได้รับการฉีดวัคชีน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการนำสุนัขที่อยู่ในความดูแลไปรับการฉีดวัคชีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกครัวเรือน และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีพฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้อง และมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป

นายสัตวแพทย์ อภิชัย นาคีสังข์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่าในช่วงปี ๒๕๕๕-ถึงปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษได้มีการพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์จำนวน หลายครั้ง ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ พบโรค ๑๐ ครั้ง (๑๐ ตำบล ๑๐ อำเภอ) ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ พบโรค ๑๓ ครั้ง (๑๑ ตำบล ๗ อำเภอ) ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พบโรค ๔๕ ครั้ง (๓๕ ตำบล ๑๕ อำเภอ) ปี ๒๕๖๑-ปัจจุบัน (๑ มกราคม ๖๑-๒๘ มี.ค.๖๑) พบโรค ๒๑ ครั้ง ( ๑๗ ตำบล ๙ อำเภอ) สำหรับข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า นั้น พบรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในปี ๒๕๕๕ จำนวน ๑ ราย ๒๕๕๖ จำนวน ๑ ราย ๒๕๕๘ จำนวน ๒ ราย และปี ๒๕๕๙ จำนวน ๑ ราย จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการควบคุม ป้องกันโรค รวมทั้งการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ และสร้างความร่วมมือและการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยมีแนวทางการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังต่อไปนี้

๑. ประกาศกำหนดท้องที่จังหวัดศรีสะเกษทั้งจังหวัด เป็นเขตโรคระบาดสัตว์ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ชนิดสัตว์ควบคุมสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ เป็นต้นมา
๒. การดำเนินการกรณีสงสัยเกิดโรค/เกิดโรค การสอบสวนโรค การกำหนดมาตรการควบคุม โดยการประสานข้อมูลไปยังหน่วยงานสาธารณสุขทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมสอบสวนโรคหาสาเหตุของโรค ค้นหาและจัดการสัตว์และบุคคลเสี่ยงสัมผัสโรค เฝ้าระวังและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ เป็นระยะเวลา ๖ เดือน
๒.๑ ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว (ระยะเวลา ๑ เดือน)
๒.๒ สำรวจประชากรสุนัขและแมว ขึ้นทะเบียนสุนัข แมว (อปท)
๒.๓ ฉีดวัคซีนรอบรัศมีจุดเกิดโรค ๕ กิโลเมตร
๒.๔ ค้นหา คัดแยกสัตว์สงสัยสัมผัสโรค/ทำลายสัตว์
๒.๕ เฝ้าระวังทางอาการ พบสัตว์มีอาการผิดปกติแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ส่งตัวอย่างตรวจฯ
๒.๗ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ ให้ความร่วมมือ

3.แลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารความเสี่ยงไปยังชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ๆเกิดโรค เพื่อให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคและร่วมเฝ้าระวังโรค หากพบสัตว์น่าสงสัยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่
๔.ดำเนินการเฝ้าระวังในเชิงรุก โดยการส่งหัวสัตว์สงสัยทุกรายทั้งที่แสดงอาการทางคลินิก/และยังไม่แสดงอาการฯ เพื่อนำส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
ความคีบหน้าการดำเนินงานควบคุมโรคของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ
๑.ตั้งแต่มกราคม ๒๕๖๑-๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ ได้ทำการส่งตัวอย่างสัตว์เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแล้ว ๑๐๑ ตัวอย่าง ตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน๒๑ตัวอย่าง ในพื้นที่ ๙ อำเภอ ๑๗ ตำบล
๒.จากข้อมูลการสำรวจประชากรสุนัข แมว โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งล่าสุด จำนวนสุนัข ๑๖๓,๑๔๔ ตัว แมว๕๑,๐๙๑ ตัว รวม ๒๑๔,๒๓๕ ตัว

๓.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นทื่ โดย อปท.ทำการตั้งงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีน ณวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ได้ทำการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงไปแล้วกว่า ๕๘,๕๔๙ ตัว การฉีดวัคซีนจะสามารถดำเนินไปได้ประมาณ ๗๐% ทั้งนี้มีเป้าหมายการฉีดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ๑๐๐%
๔.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการออกหน่วยบริการสัตวแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการฉีดวัคซีน และผ่าตัดทำหมันสุนัข แมว ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแผนการออกปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกๆสัปดาห์ ปัจจุบัน ปี ๒๕๖๑-ปัจจุบัน ผ่าตัดทำหมันสุนัข แมว ไปแล้วกว่า ๒,๕๐๐ ตัว
๕.การทำลายสัตว์และกำจัดพาหะของโรคระบาด โดย อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดและการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ.๒๕๔๗ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการทำการทำลายสัตว์และขอเบิกจ่ายค่าชดเชยให้ร้อยละเจ็ดสิบห้าของราคาสัตว์ ให้แก่เจ้าของสัตว์ (โคเนื้อ) ในปี ๒๕๕๘-๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ทำลายโคเนื้อ กระบือ ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน ๑๒ ตัว ในพื้นที่ ๘ อำเภอ ทั้งนี้เป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคในห่วงโซ่อาหาร
๖.การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ได้มีการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้าที่จะทำหน้าที่เฝ้าระวังโรคในพื้นที่และชุมชน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังสถานศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน โดยมีเป้าหมายลดหรือไม่พบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๔๓๘ ราย

๗.เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์และโรคสัตว์ติดต่อสู่คน ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รับผิดชอบ/ปฏิบัติงานด้านโรคระบาดสัตว์และโรคสัตว์ติดต่อสู่คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค โรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่/บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น ๕๓๗ คน

ข้อสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีข้อสั่งการให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑. ให้นายอำเภอทุกอำเภอจัดประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดให้ดำเนินการจัดตั้งงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อนำมาฉีดให้สุนัขและแมวในพื้นที่ๆรับผิดชอบของแต่ละท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นใดยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือยังไม่มีงบประมาณ ให้ดำเนินการขอปรับเปลี่ยนงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัคซีนรวมทั้งเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นในการดำเนินโครงการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยให้เร่งดำเนินการโดยด่วนที่สุดให้ครอบคลุมและทั่วถึงทุกพื้นที่ๆรับผิดชอบ และให้รายงานผลและความคืบหน้าฯ เป็นประจำทุกๆเดือน ผ่านทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ภายในทุกๆวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป

๒. ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมจัดกิจกรรม Kick Off รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าพร้อมกันทั้งจังหวัดทั่วทุกอำเภอ ให้แต่ละอำเภอกำหนดสถานที่ๆจัดงานที่เหมาะสม โดยให้ทุกๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรม ให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ผ่าตัดทำหมัน สื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และให้ประชาชนรวมทั้งจิตอาสาจากทุกพื้นที่ทุกตำบลเข้าร่วมกิจกรรมขบวนรณรงค์ไปยังทุกพื้นที่ตำบล เพื่อประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับอำเภอเมืองศรีสะเกษให้จัดกิจกรรมในวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๑ ทั้งนี้ให้แต่ละอำเภอรายงานผลการจัดกิจกรรมพร้อมภาพกิจกรรมผ่านทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ภายในวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๑
๓.ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานปศุสัตว์ สาธารณสุข รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้โรคพิษสุนัขบ้าแก่ประชาชน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค รวมทั้งสร้างความตระหนัก ในการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ นำสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบทุกตัว และเมื่อสัมผัสโรค เช่น เมื่อถูกกัด สัมผัสน้ำลาย ต้องรีบไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์

๔.การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการอย่างมีคุณภาพ วัคซีนต้องมาจากบริษัทที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับการรับรองและได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย การจัดซื้อวัคซีนต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีความสามารถในการจัดการรักษาคุณภาพวัคซีนได้ตามมาตรฐาน ทั้งนี้การจัดเก็บ การส่งมอบ การขนส่ง และการวัคซีนไปใช้ ณ จุดปฏิบัติงาน จะต้องรักษาอุณหภูมิความเย็นให้อยู่ระหว่าง ๒-๘ องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพของวัคซีนเมื่อนำไปฉีดให้สัตว์แล้วสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ ทั้งนี้ให้หน่วยงานปศุสัตว์และหน่วยงานสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านคุณภาพวัคซีน
๕.ให้เฝ้าระวังโรคคนและสัตว์อย่างเข้มงวด ในระดับอำเภอให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นศูนย์กลางในการประเมินสถานการณ์ รวบรวมข้อมูล เฝ้าระวังโรคในสัตว์และคนตามลำดับ และประสานงานรายงานข้อมูลมายังสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้ให้ตั้งตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดศรีสะเกษ ณ กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ (โทร/โทรสาร ‭๐๔๕-๖๑๒๗๗๙‬)

บุญทัน ธุศรีวรรณ ข่าว/ภาพ

Loading