วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

นครปฐม โครงการพัฒนาเสริมสร้างชีวีวิถีพอเพียง โรงเรียนวัดลำเหย

นครปฐม โครงการพัฒนาเสริมสร้างชีวีวิถีพอเพียงโรงเรียนวัดลำเหย
เป็นโครงการต่อยอดรางวัลสถานศึกษาพอเพียง ปี 2556

นายชูศักดิ์ ชาญช่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลำเหย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อกลางปี 2556 โรงเรียนวัดลำเหยได้รับการประเมินโรงเรียนดีศรีตำบลมีคณะกรรมการที่มาตรวจประเมินว่าโรงเรียนวัดลำเหย ควรจะส่งเรื่องสถานศึกษาพอเพียงด้วย ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการสถานศึกษาพอเพียง ปรับวิสัยทัศน์ ปรับนโยบายและแผนโครงการต่างๆและดำเนินการจนได้รับการยอมรับผ่านการประเมินได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2556 เป็นสถานศึกษาพอเพียง ปี 2556

 

 

โรงเรียนวัดลำเหยได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลายปี 2557 -2558 ได้รับงบประมาณ สำนักงานส่งเสริมกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้รับเงินสนับสนุนโครงการ สถานศึกษาพอเพียงเพื่อเด็กลำเหยแก้มใส จำนวน 60,000 บาท เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนได้ผลิตอาหาร เองที่ปลอดสารพิษ ผ่านระบบสหกรณ์ของนักเรียนเพื่อเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน ของโรงเรียนจึงได้จัดทำเกษตรอินทรีย์ และอื่นๆโดยมีการเลี้ยงเป็ดช่วงปี 2559 ได้จัดทำโครงการพัฒนาต่อยอดรางวัลสถานศึกษาพอเพียงภายใต้โครงการพัฒนาเสริมสร้างชีวีวิถีพอเพียง ส่งเสริมครูและนักเรียนจัดตั้งศูนย์ ชุมนุม ฐานเกษตรอินทรีย์ 12 ฐาน การเรียนรู้พืชผักปลอดสารพิษ การปลูกผักไฮโดรโพนิค การเพาะเห็ด การเพาะถั่วงอก การเรียนรู้พืชสมุนไพร การเลี้ยงปลา การเลี้ยงเป็ดไข่ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักธรรมชีวภาพ การเรียนรู้หญ้าแฝกมหัศจรรย์ ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงใส่เดือน การเรียนรู้สวนกล้วยนำว้า ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ควบคู่การพัฒนาฐานการเรียนรู้เน้นการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a22%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a23
ทางด้านนายชูศักดิ์ ชาญช่าง ผอ.รร.วัดลำเหยและชุมชนได้สนับสนุนวัสดุที่มีอยู่ที่ แล้วมาทำการก่อสร้างโรงเรือน โดยมีคณะครูชาวบ้านในชุมชน นักเรียน มาช่วยกันสร้างโรงเรือน พร้อมอุปกรณ์อื่นๆ โรงเรือนที่จะเลี้ยงเป็ดไข่ ในช่วงแรก 168 ตัว โดยการเลี้ยงเป็ดไข่ แบบกึ่งธรรมชาติ บริเวณโรงเรียนมีสระนำ้อยู่แล้ว ภายในโรงเรียน ผลผลิตไข่เป็ดที่เก็บได้วันละประมาณ 150 กว่าฟอง มาเป็นอาหารกลางวัน ที่เหลือก็จะนำออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราถูก ในรูปแบบไข่สด และไข่เค็ม ซึ่งไข่เป็ดลูกจะมีไข่แดงใหญ่ ไข่ขาวน้อย ไข่เป็ดใบจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีครูเอกชัย ค้าผล หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ ครูปราณี. พุทธคุณ หัวหน้าโครงการ ในครั้งนี้..

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a210%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a29%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a27%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a211%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a26%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a25%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a24%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a23%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a21

.ปนิทัศน์ มามีสุข นครปฐม 061-5397400

Loading