ชาวเกษตรกรปลูกยางพารา อ.ระแงะ ได้เฮ หลัง อบต.ผุดไอเดียร์ นำน้ำยามพาราในพื้นที่ เตรียมสร้างสาธารณประโยชน์ ระดม อบต.ข้างเคียงรับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้รู้ เพื่อยกระดับราคาน้ำยางตกต่ำ สร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเท่าตัว
ณ ห้องประชุม ซือรีบาโง สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต ม.4 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายฆอยรินทร์ บินสะมะแอล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือเชิญ นายก.อบต.ประธานสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน จำนวน 50 ราย มาร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องยางพาราเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำน้ำยางสดและยางพารามาเป็นส่วนสมหลักในการทำถนน และสาธารณประโยชน์ต่างจากท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศและโลกให้สูงขึ้นถือเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐด้วย ควบคู่กับการแก้ปัญหาราคายางตำต่ำให้มีราคาที่สูงขึ้นตามความจำเป็นเพื่อการพัฒนาท้องที่ให้ทันต่อการก้าวหน้าในสภาพความเป็นจริงของปัจจุบัน และลดรายจ่ายงบประมาณภาครัฐ สร้างและเพิ่มมาตรฐานและความคงมนในสิ่งก่อสร้าง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรปลูกยางพารารองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมเตรียมงบประมาณจัดสร้างสาธารณประโยชน์ที่มีการใช้ยางพาราในท้องถิ่นเป็นแบบอย่างในอนาคตอันใกล้นี้
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชศรีมา เปิดเผยว่า วันนี้มาเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องของการนำยางรามาใช้ในการสร้างถนนยางพาราที่ใช้ในท้องถิ่นและส่งเสริมยางพาราในท้องถิ่นได้กระตุ้นเศรษฐกิจภายในตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อลดการส่งออกยางพาราในพื้นที่ และสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรภายในประเทศว่าวันนี้เรามีนวัตกรรมที่สามารถใช้ทดแทนเทคโนโลยีการก่อสร้างถนนและสามารถใช้องค์ความรู้นี้สร้างลายเอนกประสงค์ต่างๆ เช่น โรงจอดรถ ตลาดชุมชน หรือการก่อสร้างสาธารณสถานต่างๆที่ใช้จากยางพาราได้
“ถ้านำยางพารามาใช้อย่างเต็มรูปแบบในการทดแทนถนนคอนกรีตแล้ว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้งบประมาณได้มากถึงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายเดิม หมายความว่างบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดจะสามารถเพิ่มผิวจราจรหรือพื้นที่ในการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งจะส่งผลให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและก้าวสู่ประเทศที่มีความเจริญในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งเกษตรกรรมอีกด้วย”
ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ถ้านำเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้แล้ว ในอนาคตจะสามารถเพิ่มราคาของยางพาราได้แน่นอน เช่น ราคาน้ำยางพาราสดลิตรละ 60 บาท จะสามารถทำได้ เป็นราคาต้นทุนในการก่อสร้างที่ยังถูกกว่าการก่อสร้างปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำยางสดหรือดิบได้ราคาดีขึ้นเนื่องจากยางพาราถือเป็นโพลีเมอร์ชั้นยอดเยี่ยมที่สุดที่มีอยู่บนโลก ซึ่งประเทศไทยมีปริมาณยางที่มากเพียงพอ และในอนาคตภายใน 10 ปี ถ้าทุกคนเริ่มใช้ในตอนนี้ ความเชื่อมั่นจะมากขึ้น จนไม่จำเป็นต้องส่งออกยางพาราแม้แต่หยดเดียว
ส่วนในต่างประเทศเองได้มีการใช้เทคโนโลยีนี้มายาวนานแล้ว โดยการนำน้ำยางข้นที่ซื้อไปจากเราไปผสมน้ำยาโพลีเมอร์ในต่างประเทศ นำไปผลิตน้ำยากันซึมปูนฉาบรวมไปถึงเทคโนโลยีอื่นๆมากมาย แต่ไม่มีการเปิดเผยให้คนไทยได้รับรู้ ซึ่งถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องช่วยเหลือกันเอง โดยงบประมาณเดิมที่มีอยู่อย่างจำกัดเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงาน เช่น การยางแห่งประเทศไทย ในแต่ละ อำเภอ และจังหวัด อบต.อบจ.เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมมือกันแก้ปัญหาในแนวทางที่ถูกต้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์สมเด็ชพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็จะสร้างให้ชุมชนเราเข้มแข็งได้
ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ จ.นราธิวาส