วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

ราชบุรี!!รวมกลุ่มเลี้ยงกบในกระชังบกัวใหญ่”กว่าครึ่งกิโลกรัม”

18 ต.ค. 2018
38

รวมกลุ่มเลี้ยงกบในกระชังบกตัวใหญ่ครึ่งกิโลกรัม

จัดตั้งรวมกลุ่มกันเลี้ยงกบในกระชังบก เกษตรกรใน ต.หนองกลางนา อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังสำนักงานเกษตรให้สนับสนุนงบประมาณชุมชนละ 1 แสนบาท เลี้ยงง่ายโตเร็ว ตัวใหญ่ สร้างได้รายดี

วันที่ 18 ต.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า.. พื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางวา ของนางคุณทรัพย์ จิระกุลอภิพัฒน์ อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ 2 ต.หนองกลางนา อ.เมือง จ.ราชบุรี ที่จัดตั้งรวมกลุ่มกับเพื่อนสมาชิกเลี้ยงกบในกระชังบก ตามโครงการเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ ตามโครงการที่ชุมชนเสนอ โดยชุมชนหนองกลางนาได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1 แสนบาท เป็นโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกบ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของชุมชน

ทั้งนี้กลุ่มเลี้ยงกบในกระชังบก มีสมาชิกอยู่ 26 คน ซึ่งเคยมีอาชีพการเลี้ยงกบขายมาก่อนแล้ว ต่อมามีโครงการจากรัฐเข้ามาสนับสนุน จึงได้เสนอโครงการเลี้ยงกบในกระชังบกเข้าไปยังที่ประชุม และได้มีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 1 แสนบาทเข้ามาสนับสนุนเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ค่าพลาสติกอย่างหนารองพื้น ตาข่ายล้อมกระชัง ตาข่ายพรางแสงไว้บังบริเวณหลังคา ค่าลูกพันธุ์กบประมาณ 20,000 ตัว ตัวละ 1.50 บาท ค่าอาหารเม็ด และค่ายาบำรุงรักษา โดยวัสดุการเลี้ยงที่สำคัญคือ กระชังแบบสำเร็จรูปจะมีลักษณะเป็นผ้าใบสีดำหนาคงทนใช้รองพื้น มีตาข่ายด้านข้างโปร่งระบายอากาศได้ดี ด้านบนเป็นตาข่ายพรางแสงสีดำ กระชังมีความกว้าง 3 เมตร คูณ 6 เมตร ราคากระชังละ 1,500 บาท ใส่น้ำพอประมาณเพื่อให้ลูกกบที่เลี้ยงอาศัยอยู่ได้

โดนนางสาวเนตรอัปสร จูฑะศร อายุ 35 ปี ประธานโครงการเลี้ยงกบ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้มีการตกลงกันว่าส่วนหนึ่งจะหักเป็นค่าใช้จ่าย ปันผลกำไรให้สมาชิก เหลือจากนั้นจะเก็บไว้เลี้ยงในรุ่นต่อไป การเลี้ยงกบในกระชังบกจะมีข้อดีคือ ใช้พื้นที่ไม่มาก แค่เนื้อที่ไม่ถึง 100 ตารางวาก็สามารถเลี้ยงได้แล้ว หากเบื่อการเลี้ยงยังสามารถนำพันธุ์ปลาดุกมาเลี้ยงต่อได้อีก และยังเคลื่อนย้ายได้สะดวก หรือจะรื้อถอนปลูกพืชผักต่างๆในพื้นที่นั้นได้อีกด้วย

สำหรับอายุการเลี้ยง เริ่มตั้งแต่การนำลูกกบตัวเล็กขนาดนิ้วก้อยมาปล่อยดูแลเลี้ยงในกระชัง ได้อายุประมาณ 2 เดือนเศษขึ้นไปก็สามารถจับขายได้ โดยจะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงหน้าฟาร์ม ซึ่งความต้องการของตลาดช่วงนี้ขายหน้าฟาร์มอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท แต่หากเป็นช่วงหน้าหนาวจะราคาดีมากกิโลกรัมละ 70 บาท ซึ่งทางกลุ่มจะมีการตกลงกันว่า จะให้เพื่อนสมาชิกรายหนึ่ง เป็นผู้เลี้ยงในที่ดินของตนเอง โดยจะมีการนำวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รัฐสนับสนุนมาให้เลี้ยง ให้ค่าจ้างเป็นค่าเลี้ยงเดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะจับขายได้

ส่วนทางด้าน นางคุณทรัพย์ จิระกุลอภิพัฒน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงกบ เปิดเผยว่า ตัวเองริเริ่มเลี้ยงกบมาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว เคยเลี้ยงกบตัวใหญ่สุดได้ประมาณตัวละ 5-6 ขีด หรือประมาณตัวละครึ่งกิโลกรัม การเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก มีการจัดแบ่งกระชังนำลูกกบไปใส่เลี้ยง เพื่อไม่ให้หนาแน่นจนเกินไป ทำให้กบเจริญเติบโตดี ทุกวันต้องถ่ายน้ำในกระชังล้างทำความสะอาด เพื่อให้เนื้อตัวกบสะอาดไม่เป็นเมือก โดยจะนำล้อยางรถจักรยานยนต์มาวางไว้ เพื่อให้กบได้กระโดดขึ้นมาเกาะอาศัย เพื่อให้กบอารมดีขึ้น เจริญเติบโตได้เร็ว

จากนั้นก็จะนำอาหารเม็ดมาให้กิน 2 เวลา เช้าและเย็น ส่วนช่วงกลางคืนจะเปิดไฟไว้ในกระชัง เพื่อให้แมลงได้บินเข้ามาเล่นไฟและทำให้กบจับกินเป็นอาหารได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง เมื่อได้ช่วงระยะการจับส่งขายตลาดกบจะมีน้ำหนักอยู่ขนาด 8 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม แต่หากยังไม่รีบร้อนจับขาย ก็จะเลี้ยงให้ตัวโตขนาดประมาณตัวละครึ่งกิโลกรัม ตัวใหญ่ ๆ ก็จะมีแม่ค้าตามร้านอาหารมารับซื้อไปทำเมนูประกอบอาหารขายให้กับลูกค้า ทำให้กลุ่มมีรายได้จากการเลี้ยงกบ และยังได้เงินจากการปันผลของกลุ่มสมาชิกอีกทางหนึ่งด้วย

 

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading