วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

เกษตรอินทรีย์!!ทฤษฏีใหม่เกษตรกรตำบลป่าไร่”

07 ก.พ. 2019
40

เกษตรอินทรีย์ ทฤษฎีใหม่เกษตรกร ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี


ณ.อ.แม่ลาน ชาวบ้านเกษตรกรที่นี่ได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ จัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดจนนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ จนเกิดผล สามารถสร้างรายได้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลำดับ
จากการที่ทำสวนยางและมีการทำนาส่วนใหญ่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว และเมื่อหลายปีผ่านมา เกิดปัญหาด้านน้ำ สภาพบริเวณนาดินเปลี่ยนไป เกิดปัญหาน้ำไม่ทั่วถึง เพราะชาวบ้านต่างคนต่างทำ จึงเกิดปัญหา มีนาร้าง ทีละแปลง2แปลงเพิ่มขึ้น


ต่อมาจึงมีการดำเนินการจัดการของชาวบ้านที่น่าสนใจคือ ด้านการจัดการน้ำ จนสามารถคืนผืนนากลับมาใหม่ และเป็นการทำนาแบบทฤษฎีใหม่แบบเกษตรอินทรีย์ อีกด้านหนึ่ง มีการทำเกศษตรกรรมแบบครบวงจรทั้งเลี้ยงปลา เลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกผัก พืชเศรษฐกิจ ทั้งหมดเป็นการทำแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเมือมาถึงบริเวณแถบนี้จะพบกับผืนนาเขียวชอุ่ม กว้างไกล ต้นข้าวที่กำลังออกรวง รอเก็บเกี่ยว และชาวบ้านที่เลี้ยงวัว นำวัวมากินอาหาร สลับกับ แปลงผัก และไร่สวน ยาง ภูมิแวดล้อมอันสบายตา

นายสนธยา พรหมดำเนิน เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เล่าว่า จากที่ผ่านมา เมื่อเกิดปัญหาน้ำแล้ว จึงได้ดำเนินการจัดการเรื่องน้ำก่อน ชาวบ้านได้หันมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม ครั้งแรก จำนวน 36 ราย มาร่วมเรียนรู้ศึกษา การแก้ปัญหาร่วมกัน โดยมีหลายหน่วยงานมาช่วยส่งเสริม ทั้งเกษตรจังหวัด พัฒนาที่ดิน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านได้นำความรู้นั้น มาทำเกษตรใน”แนวทฤษฎีใหม่ แบบเกษตรเชิงประณีต” ทำให้มีการพัฒนาขึ้น ได้ความรู้วิชาการกระบวนการรูปแบบใหม่ ซึ่งทำให้พวกเขาได้ผลผลิตตามมามากขึ้น และในที่สุดสามารถเชื่อมโยงสู่ภายนอกได้ โดยจัดตั้งกลุ่มโครงการ พืชผักสวนครัวรั้วหลังบ้าน มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผักเศรษฐกิจอื่นๆ

แต่ต่อมาเกิดปัญหาเรื่องที่ดินเป็นที่ลุ่ม เป็นที่ชุ่มน้ำ และปัญหาแมลง ทุกคนจึงปรับเปลี่ยนวิธีหาความรู้ใหม่ ได้ประชุมร่วมหาทางออกร่วมกันศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จนเกิดการ ปลูกพืชแบบรวมกลุ่มที่นี่ใช้แปลงหนึ่งเป็นศูนย์กลาง เป็นการปลูกในโรงเรือน และใช้การปลูกผักยกพื้น ซึ่งมีสถาบันส่งเสริม เกษตรตามแนวพระราชดำริ มูลนิธิปิดทองหลังพระเข้ามาส่งเสริมวัสดุอุปกรณ์และชาวบ้านได้มือลงแรงกัน
ส่วนด้านบริหารจัดการได้ดูแลจัดการเอง จากที่ผ่านมาระยะเวลา 6-7เดือน ได้เห็นผลผลิตที่ดี มีความชัดเจนมากขึ้น ตอนนี้ได้ทำการตลาดกันเอง และได้เข้า ติดต่อกับกลุ่ม ผู้ขายโดยตรง ไม่โดนพ่อค้าเอาเปรียบ
พืชเกษตรที่ชาวบ้านปลูกที่ผ่านมา เช่นเมล่อนมะเขือเทศสีดา ผักสลัดต่างๆ พืชทางเศรษฐกิจนอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่บ้านด้วย เป็นการทำเกษตรแบบครบวงจรตามหลักวิถี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นางสาวณัฐนาพร ไชยผลอินทร์ ประธานกลุ่มเกษตกรทำนาโยน บ้านละโพ๊ะ ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี หรือพิไร กล่าวว่า เรามีปัญหาเรื่องนาร้างมานาน จึงมีการ รวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหานาร้างขึ้นโดยการ ซ่อมแซมครูไส้ไก่และกระตุ้นเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการซ่อมแซมนี้ ในพื้นที่ 117 ไร่ มาวางแนวทางลดต้นทุนการผลิตและใช้การผลิตแบบใช้ทฤษฎีใหม่การทำนาโยน ปรับปรุงบำรุงดิน กับเกษตรกรทั้งหมด 9 ราย เป็นแปลงต้นแบบ โดยใช้การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ รายการทำนาโยนนี้เราได้มีการศึกษาการทำแบบใหม่ แบบปราณีต มีการจดบันทึก ทำข้อมูล เพราะปีนี้ พี่ก็ปลูกเป็นปีแรก จากที่เห็นคือมีการแตกกอมากขึ้น จำนวนต้นกล้าที่ใช้ก็ลดลง และเป็นการประหยัดเวลามากขึ้น ทำให้ลดต้นทุนได้หลายอย่าง ส่วนการ บำรุงปุ๋ยบำรุงดินนั้นเราใช้ ขี้แพะ เพื่อป้องกันหนูด้วย นอกจากนี้เราได้เรียนรู้กรรมวิธีควบคุมน้ำอีกด้วย เราได้เก็บรายละเอียดสุ่มตรวจจดบันทึกเพื่อปรับใช้ในปีหน้า เพื่อในปีหน้า เราสามารถรู้ผลผลิตและเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น

จากผลผลิตที่ได้นั้น 20% จะเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ไว้ต่อยอดในปีถัดไปส่วนที่เหลือเรามาบริโภคเองในครัวเรือนโดยแบ่งให้สมาชิกทั้งหมด 8 ครอบครัวในจำนวน แรงต้นแบบที่เราปลูกนาโยนนี้จำนวน 18 ไร่ คาดว่าในปีต่อไปจะเพิ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากขึ้นอีก

ปัจจุบัน สำหรับเกษตรกร ที่เป็นหมู่บ้านตำบลป่าไร่นี้ยังอยู่ระหว่าง ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจและขยายกับเกษตรกรอื่น ให้มีการขยายผลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเกษตรในด้านอื่นเช่นการปลูกเห็ด ซึ่งใน ระยะเวลาไม่นานนี้ จะเห็น ความชัดเจนในการทำเกษตร ผสมผสาน และมีการเปลี่ยนแปลงในการทำเกษตรเชิงอินทรีย์ จนเป็นสามารถเป็นโมเดล การพัฒนาเกษตรกรระดับจังหวัดได้ต่อไป

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ จ.นราธิวาส

Loading