วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

ร้อยเอ็ด!!สืบชะตาป่า”พิธีกรรม”ผูกเสียวป่า คนกับต้นไม้เป็นเพื่อนกัน”

ร้อยเอ็ด. สืบชะตาป่า โดยพิธีกรรม “ผูกเสียวป่า” คนกับต้นไม้เป็นเพื่อนกัน


*ชาวตำบลท่าม่วง อ.เสลภูมิ ได้เล็งเห็นความสำคัญของพิธีกรรมผูกเสี่ยว จึงได้นำพิธีกรรมผูกเสี่ยวผนวกเข้า กับ ป่าดงหัน ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เป็นประเพณีเก่าแก่และเป็นภูมิปัญญาที่ทำให้สังคมของชาวอีสานเข้มแข็ง เป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเสี่ยวหรือเพื่อนรัก/เพื่อนแพง คำว่า”เสี่ยว” ภาษาอิสาน หมายถึง มิตรแท้ เพื่อนแท้ ความจริงใจต่อกัน มีความผูกพันทางด้านจิตใจกันอย่างจริงใจ และเต็มใจ ทั้งนี้ความผูกพันของเสี่ยวนี้ไม่มีเฉพาะกับเสี่ยวเท่านั้น หากมีความหมายผูกพันเชื่อมโยงไปถึงครอบครัว ญาติ พี่น้อง และหมู่บ้านของเสี่ยวด้วย


วันนี้ 7 ก.พ.2562 เวลา 09.30 น. ณ.ป่าสงวนดงหัน มีเนื้อที่ประมาณ 765 ไร่ ประเภทป่าเบญจพรรณ มีที่ตั้งอยู่ใจกลาง ตำบลท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด.นายอภัย วุฒิโสภากร นายอำเภอเสลภูมิ เดินทางมาเป็นประธานในพิธี งานทำบุญสืบชะตาป่า(ผูกเสี่ยวป่า) โดยมีนายเจริญ สุทธิประภา นายกเทศบาลตำบลท่าม่วงกล่าวรายงาน คุณตาประเสริฐ ยุ๊จีน อายุ 86 ปี บ้านเลขที่ 80 ม.2 ต.ท่าม่วง ทำหน้าที่พรามห์ สูตรขวัญ-ผูกแขนต้นไม้ สืบชะตาป่า ผูกเสี่ยวป่า ผศ.ดร.วรฉัตร วริวรรณ และ ผศ.ดร.สุรพงษ์ แสงเรณู นำนักศึกษาจาก ม.ราชภัฎร้อยเอ็ด วิทยาลัยผู้สูงอายุ /คณะครู-นักเรียนโรงเรียนท่าม่วงร่วม”ผูกเสี่ยวป่า”อย่างคึกคัก

นายเจริญ สุทธิประภา กล่าวถึงประเพณีผูกเสี่ยวว่า เป็นประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว การผูกเสี่ยว คือ การสัญญาที่จะเป็นเพื่อนรัก ไม่ทำลายกัน โดยหมอพรามห์เป็นคนบ่าวสักเข อัญเชิญเทวดามาเป็นสักขีพยานในการผูกเสี่ยวครั้งนี้ ประโยชน์ของการผูกเสี่ยวว่าการผูกเสี่ยวเป็นการสร้างความเป็นเพื่อน สร้างความรัก ความผูกพัน กันให้เกิดขึ้นในหมู่ชนตำบลท่าม่วงกับต้นไม้ในป่าดงหัน ให้เกิดความความรักความผูกพันดังกล่าวไม่จำกัดอยู่เฉพาะผู้เป็นเสี่ยวกันเท่านั้น แต่แผ่กระจายไปถึงพ่อ-แม่ ญาติพี่น้องของคนในชุมชนอีกด้วย

คณิต. ไชยจันทร์ /รายงาน

Loading