วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

ชาวลาวเวียงบ้านสิงบ้านสิงห์ราชบุรี!!สืบสานประเพณีงานบุญข้าวจี่”

ราชบุรี ชาวลาวเวียงบ้านสิงห์สืบสานประเพณีงานบุญข้าวจี่

ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จัดงานสืบสานประเพณีบุญข้าวจี่ที่วัดกำแพงใต้ มีชาวไทยรวม 8 ชาติพันธุ์เข้าร่วมงานคึกคัก

วันที่ 18 ก.พ.62) ที่วัดกำแพงใต้ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงในตำบลบ้านสิงห์ ได้ร่วมกันจัดงานสืบสานประเพณีงานบุญข้าวจี่ขึ้น โดยมีนายศุภชัย ครุฑดำ ปลัดอาวุโส อ.โพธาราม เป็นประธานเปิดงาน พันตรีอาจหาญ ศรีผิว รองประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านสิงห์ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านสิงห์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยหน่ายงานที่เกี่ยวข้องร่วมถึงชาวไทย 8 ชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ชาวไทยพื้นถิ่น ชาวไทยจีน ชาวไท- ยวน ชายไทยมอญ ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวตี้ และชาวไทยเขมร

นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้แรงงานจากชาวเมียนม่า ได้สวมชุดแต่งกายประจำชาติพันธุ์เข้าร่วมกิจกรรม รวมเป็น 9 ชาติพันธุ์อย่างสวยงาม โดยอำเภอโพธารามได้รับคัดเลือกให้บ้านโรงหีบ ต.บ้านสิงห์ เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว ก่อเกิดการสร้างรายได้มาสู่ชาวบ้านในชุมชน มีการเสริมสร้างเสน่ห์จากภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพื้นถิ่น ที่จะเป็นเครื่องดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมเยียน

สำหรับงานบุญเดือนสาม หรือ บุญข้าวจี่ ของชาวลาวเวียงในตำบลบ้านสิงห์ มีประวัติดั้งเดิมมาจากชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนอพยพมาจากนครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2321- 2322 โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพขึ้นไปตีเอาเมืองเวียงจันทร์ ด้วยเมืองเวียงจันทร์ในขณะนั้นไม่ปรองดองขาดความสามัคคีกันเกิดความอ่อนแอ และถูกหัวเมืองอื่น ๆ เข้ารุกรานอยู่บ่อย ๆ ชาวนครเวียงจันทร์ได้รับความเดือดร้อน เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ตีได้นครเวียงจันทร์ จึงกวาดต้อนอพยพผู้คนเข้ามาสู่ประเทศไทย ส่วนหนึ่งอพยพมาไว้ที่ราชบุรีและได้สร้างบ้านเรือนชุมชนขึ้นแถววัดพญาไม้บริเวณ อ.เมืองราชบุรี ส่วนหนึ่งได้มีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ต.บ้านสิงห์ในปัจจุบัน โดยมีการนับถือพุทธศาสนา ถือตามฮีตคอง คือ ฮีต 12 คอง 14 ค่ำ คือ งานบุญครบทั้ง 12 เดือน เมื่อถึงเดือน 3 ให้นำข้าวโพดนาอาหาร หมากผล ข้าวใหม่ถวายพระสงฆ์ถือเป็นบุญ แล้วตนเองจึงค่อยนำมากินจึงถือเป็นสิริมงคล

ชาวลาวเวียงได้พากันปฏิบัติสืบต่อกันมา ภายหลังข้าวจี่ปฏิบัติกันน้อยลงและแปรเปลี่ยนกลายมาเป็นการเผาข้าวหลามแทน ซึ่งก็คล้ายกันคือ นำข้าวใหม่ปรุงเป็นอาหารแล้วทำบุญถวายพระสงฆ์ในวันพระใหญ่ คือ บุญเดือน 3 บุญข้าวจี่ ต่อมาการเผาข้าวหลามก็ปฏิบัติน้อยลง ชาวลาวเวียงบ้านสิงห์ จึงได้รื้อฟื้นสืบสานงานบุญข้าวจี่ขึ้น เพื่อให้ชาวบ้าน และเยาวชนในพื้นที่ได้มีการอนุรักษ์รวมทั้งเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่และช่วยกันสืบสานถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป

อาจารย์ธัญญชล จันทร์มโน ครูโรงเรียนวัดท่ามะขาม และ กรรมการ OTOP นวัตวิถี เปิดเผยว่า เป็นประเพณีของชาวไทยลาวเวียงที่จัดขึ้นเป็นปีแรก ถือเป็นการเปิดนาใหม่ ข้าวจี่จึงถือเป็นประเพณีของชาวอีสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีใช้ข้าวเหนียวใหม่มานึ่งให้สุกนิ่มแล้วนำมาปั้นโดยใช้ไม้ไผ่เหลาให้ยาวประมาณ 1 ศอก แล้วนำไม่ไผ่ไปลวกเกลือเพื่อให้ความเค็มแล้วจึงนำไปเสียบข้าว สำหรับคำว่า จี่ เป็นภาษาลาว แปลเป็นภาษาไทยว่า ย่าง เมื่อย่างได้เล็กน้อยก็จะนำไปชุบไข่แดงทำให้มีสีสันสวยงาม ใช้น้ำตาลอ้อย หรือน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลโตนด จะมีรสชาติหวานหอมเวลาย่างข้าวจี่แล้วจะมีกลิ่นหอม ถือว่าคนที่มาร่วมงานวันนี้ได้สร้างบุญใหญ่ด้วย เพราะวันพรุ่งนี้เป็นวันมาฆะบูชาหรืองานบุญเดือน 3 จะได้ข้าวตรงนี้ไปถวายพระสงฆ์ในวันพระใหญ่ด้วย

อย่างไรก็ตามสำหรับบรรยากาศภายในงานมีชาวบ้านที่เป็นชาวไทยทั้ง 9 ชาติพันธุ์ มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงชาย คนชรา ต่างสวมชุดผ้าไทยประจำพื้นถิ่นชาติพันธุ์ของตนเองอย่างสวยงาม มีการจัดแสดงรำจากชาติพันธุ์ต่าง ๆให้นักท่องเที่ยวได้นั่งชม การสาธิตการทำข้าวจี่ตั้งแต่กันปั้นเสียบไม้ย่างให้ได้ลิ้มชิมรสชาติกันฟรี อีกทั้งยังมีอาหารคาวหวาน ข้าวหลาม สินค้า ของที่ระลึกต่าง ๆ ในชุมชนมาวางจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวที่สนใจ สร้างความสนุกสนานรื่นเริง

 

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading