วันเสาร์, 4 มกราคม 2568

นครปฐม เตือนการระบาดศัตรูพืชการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว

นครปฐม เตือนการระบาดศัตรูพืชการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว

นายบุญเลี้ยง ข่ายม่าน เกษตรจังหวัดนครปฐม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลายมาเผา เพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนหัวดำในระยะไข่ ระยะตัวหนอน และระยะดักแด้

พ่นด้วยเชื้อบีที (Bacillus thruringiensis) อัตรา 80 – 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ไม่ควรพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัด เพราะจะทำให้เชื้อบีทีอ่อนแอ ควรพ่นช่วงเช้าก่อนเวลา 10.00 น. หรือช่วงเย็นหลังเวลา 16.00 น.ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโครแกรมมา (Trichogramma sp.) เพื่อควบคุมระยะไข่ของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 10 แผ่น แผ่นละ ๒,๐๐๐ ตัว โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 วัน

ปล่อยแตนเบียนบราคอน (Bracon hebetor) เพื่อควบคุมระยะหนอน อัตราไร่ละ ๒๐๐ ตัว กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 วัน การฉีดเข้าลำต้น มะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ใช้สารเคมี อิมาเม็กติน เบนโซเอท (emamectin benzoate) 1.92 % EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะลำต้นมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รูให้รูอยู่ตรงกันข้ามกัน ใช้ดอกสว่านขนาด ๔ – ๕ หุน เจาะลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 15 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที

การพ่นสารทางใบ กรณีมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล โดยเลือกใช้สารตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้ ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% ดับบลิวจี อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร, คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสจี, สปินโนแสด 12% เอสจจี, ลูเฟนยูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร อีกด้วย


.ปนิทัศน์ มามีสุข นครปฐม 061-5397400

Loading