อพท. ชวนเยาวชนออกแบบตราสัญลักษณ์ CBT Thailand กระทุ้นการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วภูมิภาค ดึงเยาวชนที่ มีความสามารถในการออกแบบท่ัวประเทศ ร่วมสร้างประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน กับโจทย์การ ออกแบบตราสัญลักษณ์ CBT Thailand และออกแบบภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมชุมชนท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ใน ฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจหลักในการ ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย บูรณาการร่วมกับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีนโยบายในการนําองค์ความรู้ทางด้านศิลปะและการออกแบบเพื่อ รับใช้ชุมชน พร้อมด้วยเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วภูมิภาค จัดการประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติ ครั้ง ที่ 3 (3rd National Youth Design Awards) เพื่อร่วมกันพัฒนาและยกระดับภาพลักษณ์ แหล่งท่องเที่ยวโดย
ชุมชนตามแนวทาง Community Based Tourism Thailand (CBT Thailand) และเปิดโอกาสให้เยาวชน ไทยได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์สู่สาธารณชน รวมถึงเรียนรู้การออกแบบที่สามารถนําไปใช้ งานได้จริง โดย อพท. และ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเคลื่อนที่ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนแก่ คณาจารย์และนักศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะและการออกแบบทั้งใน กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค โดยการประกวดในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ CBT Thailand และ การประกวดออกแบบสภาพแวดล้อมสําหรับชุมชนท่องเที่ยว และการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ CBT Thailand “ท่องเที่ยววิถีไทย สุขใจวิถีชุมชน” ภายใต้แนวคิด “CBT Thailand สัญลักษณ์แห่งเสน่ห์การท่องเที่ยวโดยวิถีชุมชน” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเข็มแข็ง ของชุมชนที่ผ่านการบริหารจัดการแบบองค์รวมเป็นเลิศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคีธุรกิจการท่องเที่ยว ทั้ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และนักท่องเที่ยว ให้มีความมั่นใจว่าชุมชนนั้นๆ ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจต่อชุมชนที่ได้รับตราสัญลักษณ์ CBT Thailand โดยตราสัญลักษณ์จะต้องมีความเป็นไทยที่ดูทันสมัย เรียบง่าย และสื่อสารถึงการท่องเที่ยวโดยชุมชน
รองศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานกรรมการดำเนินงานการประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 3 กล่าวว่า การประกวดออกแบบภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมสําหรับชุมชนท่องเที่ยว ผู้เข้าประกวดเลือกชุมชน ท่องเที่ยวภายในประเทศที่สนใจ และทําการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนนั้นๆ เช่น การออกแบบภูมิทัศน์ ป้ายสัญลักษณ์ การออกแบบภายในของร้านค้า จุดจําหน่ายสินค้า ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ ที่พัก หรือโฮมสเตย์
ทางด้าน ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผจก.อพท.7 กล่าวว่า คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผลงานการออกแบบทั้งสองประเภท จาก 200 กว่าทีม เหลือผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบ รวม 24 ทีม ลงพื้นที่เรียนรู้กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนของชุมชนต้นแบบในพื้นท่ีพิเศษ 7 (อพท.7) และประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบสภาพแวดล้อม ชุมชนท่องเที่ยวอู่ทอง ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน 2562 เพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย ในการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีภาพลักษณ์ที่สะท้อน อัตลักษณ์ ที่โดดเด่นของชุมชนท่องเที่ยวอันสวยงาม และแตกต่าง เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนคุณภาพ นอกจากนี้ยังสร้างการรับรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยว โดยชุมชนให้กับคณะอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งในอนาคตจะได้ขยายเครือข่ายการทํางานร่วมกันระหว่าง สถาบันการศึกษาและชุมชนท่องเที่ยวศักยภาพในพื้นที่ ในการออกแบบเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้า และบริการทางการท่องเที่ยวบนฐานอัตลักษณ์ของชุมชน นําสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป.
นัน พิราบ 3 เมืองสุพรรณ