วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567

รองเลขาฯ อีอีซี” ยำ้ชัดแผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก”

รองเลขาฯ อีอีซี. ย้ำชัด!! แผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก มีปัญหาอุปสรรค แต่ดำเนินการตามกำหนดเวลาที่วางไว้ได้ แนะทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทำความเข้าใจ แนะประชาชนในพื้นที่ฉวยโอกาสจากโครงการฯ

วันนี้ (19 มิ.ย.) เรือโทยุทธนา โมกขาว ผอ.ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดงาน “เสวนาวิชาการภาคชุมชน การพัฒนา อีอีซี . เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำพาความยั่งยืนสู่ชุมชน “ณ ห้องประชุมใหญ่(เธียร์เตอร์) ศูนย์สวัสดิการ ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีวิทยากรที่ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นางทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการสายงานพัฒนาพื้นที่และชุมชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พร้อมด้วย ดร.สมนึก จงมีวศิน ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาชุมชนและสังคมรอบท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีผู้นำชุมชน ,ชุมชน รอบท่าเรือแหลมฉบัง และนักศึกษา ร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้
นางทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการสายงานพัฒนาพื้นที่และชุมชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ได้ดำเนินการพัฒนาไปทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ ,สังคม,ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้เน้นด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
การดำเนินการในช่วงแรกนั้น คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว เช่น รถไฟความเร็วสูง ,สนามบินอู่ตะเภา ,ขยายท่าเรือมาบตาพุด ,ขยายท่าเรือแหลมฉบังและโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO ซึ่งปัจจุบัน ทุกโครงการมีความก้าวหน้าได้มีการดำเนินการเป็นไปตามกรอบของเวลาที่วางไว้
นอกจากนั้นได้ยังมีแผนจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งมีการเตรียมพื้นที่ไว้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่างๆไว้แล้ว โดยจะเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะให้สิทธิประโยชน์ เพื่อรองรับโครงการ เมกะโปรเจกต์ ทั้ง 5 โครงการ และรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะมีนิคมอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐานในการรองรับ โดยช่วงนี้มีกว่า 30 โครงการในพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีการยกระดับไปแล้ว 21 นิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับ อีอีซี

 


นางทัศนีย์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนทางด้านสังคมนั้น ก็ได้มีการ คิดกันว่าจะทำอย่างไร ให้ประชาชนสามารถอยู่ดีกินดี ,ด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษา โดยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคนให้รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งภายใน 5 ปี นี้ เราต้องการแรงงาน จำนวน 4.75 แสนคน ในการรองรับ ซึ่งทางกระทรวงศึกษา จะมีการการดำเนินการอย่างไร ที่ทำพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน ในด้านต่างๆ ส่วนด้านเกษตรกรรมนั้นก็ได้มีการทำงานร่วมกันกับกระทรวงเกษตร เพื่อให้เกษตรกร สามารถ นำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตลอดไป

“ตามเป้าหมายในปี พ.ศ. 2580 หากเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ทุกอย่างจะจะต้องหลุดจากกับดัก เช่น กับดักรายได้ปานกลาง ,ความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนจนกับคนรวยให้น้อยที่สุด ,ที่สำคัญความสมดุลของการพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมจะต้องพัฒนาควบคู่กันไป”

นางทัศนีย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา การดำเนินการต่างๆมีปัญหาอุปสรรคมาโดยตลอด แต่เมื่อเรา มี พ.ร.บ. อีอีซี. จึงสามารถ จะปลดล็อกในการทำงานต่างๆ ได้ อย่างครอบทั้ง 73 มาตรา เพราะได้นำปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในอดีต มาเป็นแบบอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทำความเข้าใจ และเข้าใจ พ.ร.บ. อีอีซี ให้มากขึ้น เพื่อให้กลไกในการขับเคลื่อน อีอีซี ได้บรรลุเป้าหมายในทุกมิติที่วางไว้

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อีอีซี ทั้ง3 จังหวัด สามารถฉกฉวยโอกาส ได้จาก เมกะโปรเจกต์ เหล่านี้ได้อย่างสบาย อยากให้ประชาชนในพื้นที่ เปลี่ยนความคิดใหม่ว่าเราะจะทำอย่างไรจึงจะมีรายได้ แทนที่จะมาคิดว่า คนในพื้นที่ จะได้อะไรจากโครงการ อีอีซี เช่น จังหวัดชลบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จะทำอย่างไรที่จะสามารถยกระดับในการพัฒนาแหล่งทองเที่ยวและประชาชนมีรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น

ภาพ/ข่าว สมชาย แก้วนุ่ม   ทีมข่าวภูมิภาค
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

Loading