วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

กาญจนบุรี!!ครูนอกประจำการทั่วประเทศกว่า 500 คนสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

11 ส.ค. 2019
41

กาญจนบุรี ครูนอกประจำการจากทั่วประเทศกว่า 500 คน ร่วม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมจากงานวิจัย” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครูเชิงพื้นที่ และ กลยุทธ์การปลดหนี้สินครูไทย “จากต้นแบบการผลิตและวิจัยพัฒนากัญชาทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการสร้างรายได้”


วันนี้ 10 ส.ค.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมราชศุภมิตร ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กาญจนบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานเปิดโครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมจากงานวิจัย” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครูเชิงพื้นที่ และ กลยุทธ์การปลดหนี้สินครูไทย “จากต้นแบบการผลิตและวิจัยพัฒนากัญชาทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการสร้างรายได้”

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญ เช่น ดร.ไพศาล การถาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การสร้างพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์เพื่อผลิตกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย โครงการพื้นที่เขตนวัตกรรมกัญชาทางการแพทย์และวิจัยพัฒนา “แก่งเสี้ยน กาญจนบุรี โมเดล”

นายณัฏฐ์นันธ์ อัจฉรากิตติ CEO บริษัท ลอตส์ มอร์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกัญชา และตลาดกัญชาในต่างประเทศ บรรยายพิเศษ หัวข้อ กัญชารักษาโรคได้อย่างไร และนโยบายภาครัฐกับกัญชาทางการแพทย์ และบรรยายในหัวข้อ “รู้เรื่องกัญชาไทย กัญชาเทศและสถานการณ์ของกัญชาในประเทศและต่างประเทศ”นายพล สุภาพร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกษตร บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปลูกกัญชาทางการแพทย์ภายใต้กฎหมายไทย”

นายพัฒนันท์ ผ่องอำไพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการปลูกกัญชาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “โรงเรือนปลูกกัญชาทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานสากล” นายณัฐชรัตน์ กฤตธน ประธานกรรมการศูนย์บ่มเพาะด้านนวัตกรรม (llC) ทำหน้าที่เลขาธิการสมาพันธ์นวัตกรรมกัญชาไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “แก่งเสี้ยน โมเดล โครงการวิจัยกัญชาฯ กับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและปลดหนี้ครู” กล่าวถึง แก่งเสี้ยนโมเดล-กาญจนบุรี โดยมี อ.ไชยภิรมย์ อัจจนะนนท์กุล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ มีกลุ่มครูนอกประจำการ (เกษียณ) ที่พร้อมจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนจากทั่วประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วม โดยการสัมมนาเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น.จนกระทั่งเวลา 16.30 น.จึงแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ ดร.ไพศาล การถาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครสำหรับ “กัญชาเสรี’ ทุกคนมีสิทธิ์ปลูก แต่ต้องกำหนดโซนนิ่งคุมคุณภาพเรียนรู้จาก ‘แก่งเสี้ยนโมเดล-กาญจนบุรี’ ที่ตอบโจทย์ทั้งหมดของรัฐบาลยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพราะถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาลสาหรับการขับเคลื่อนนโยบาย “กัญชาเสรี” ภายในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งวันนี้ได้มีการทำงานเชิงรุกในการให้ความรู้เรื่องกัญชาแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้มีสิทธิขออนุญาตปลูกกัญชาทางการแพทย์

โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเวทีเสวนาโครงการปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์ในหัวข้อ “พื้นที่ต้นแบบ การปลูก การผลิต และการวิจัยพัฒนากัญชาทางการแพทย์ แก่งเสี้ยน กาญจนบุรี โมเดล” ครั้งที่ 1 ซึ่งได้รับเกียรติจาก พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กาญจนบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ มาเป็นประธานในงานเสวนา

โดยประเด็นสำคัญที่ พล.อ.สมชาย ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ก็คือ “การผลิตกัญชาที่มีคุณภาพถึงขั้นทางการแพทย์ได้นั้น เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาและทำการค้นคว้าเพื่อที่จะปลูกให้ได้คุณภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่พี่น้อง อสม. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำการผลิตได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นจะต้องมีการให้ความรู้ และหาความร่วมมืออย่างจริงจังในการที่จะดำเนินโครงการนี้”

จากความตั้งใจที่พร้อมจะขับเคลื่อนเดินหน้าเพื่อให้นโยบายกัญชาเกิดผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นรูปธรรม กล่าวได้ว่า “แก่งเสี้ยนโมเดล – กาญจนบุรี” คือ ยุทธศาสตร์การทำงานของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่สามารถกำหนดกรอบการบริหารจัดการเรื่องกัญชาได้อย่างชัดเจน ทั้งเรื่องของสถานที่ที่ใช้เพาะปลูก การคัดเมล็ดพันธุ์ การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ตามมาตรฐาน การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ การเก็บเกี่ยวตามระยะเวลา ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องพิถีพิถันกว่าจะได้สารสกัดน้ำมันกัญชาเข้มข้นที่มีคุณภาพเพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยทางการแพทย์

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆ สามารถจะทาได้ เพราะทุกขั้นตอนจะต้องอยู่ในความควบคุมและดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความละเอียดและต้องใช้ความเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งต้องถามว่าวันนี้เรารู้จักกับกัญชากันมากน้อยแค่ไหน คนส่วนใหญ่มักรู้แต่เพียงว่า หากสูบกัญชาแล้วจะทำให้อารมณ์ดีและมีความสุนทรีย์ มีรอยยิ้ม และมีเสียงหัวเราะมากขึ้น แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า การนำกัญชามาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์นั้นจะต้องใช้ “ระบบปิด” สำหรับการเพาะปลูก เพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานอย่างเข้มงวด

ด้านนายพล สุภาพร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกษตร ได้กล่าวให้ความรู้เอาไว้ว่า “เราสามารถแบ่งการใช้กัญชาได้เป็น 2 หมวด คือ หมวดทางการแพทย์และหมวดสันทนาการ ซึ่งต้องยอมรับว่ากัญชานั้นมีทั้งคุณและโทษ หากพูดถึงเรื่องคุณประโยชน์ของกัญชา สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดในปัจจุบันคือการนำมารักษาในผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งสารสกัดน้ำมันกัญชาจะเข้าไปช่วยปรับความสมดุลของเซลล์ในร่างกาย รวมไปถึงสามารถช่วยลดในเรื่องของความเจ็บปวดไม่ทรมาน

สำหรับโทษของกัญชา หากบุคคลที่อายุยังน้อยกว่า 18 ปี อาจก่อให้เกิดปัญหาการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายได้ ซึ่งตามกฎหมายทางการแพทย์สากลระบุไว้ว่าผู้ที่สามารถใช้กัญชาจะต้องมีอายุ 21 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้สารพิษในกัญชาที่สามารถพบได้จากการเพาะปลูกในดินที่มีมลพิษปนเปื้อนและไม่มีการควบคุมมาตรฐานยังแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มโลหะหนัก (สารหนู แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว) 2.กลุ่มยาฆ่าแมลง ซึ่งกัญชาต้องหลบจากการปลูกกลางแจ้งมาปลูกในที่ควบคุม ดังนั้นถึงต้องมีการสร้างโรงเรือนเพื่อปลูกกัญชาโดยเฉพาะ เป็นการปลูกแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและปลอดเชื้อโรค

สาหรับมาตรฐานของโรงเรือนจะต้องมีโรงอบกัญชาเชื่อมถึงโรงปลูกกัญชา สร้างให้เป็น Green House Medical Grade เป็นสมาร์ทฟาร์มที่ในอนาคตจะขยายเป็นนิคมอุตสาหกรรมกัญชา เพื่อรองรับการผลิตที่ใหญ่มากขึ้น กัญชาสามารถเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 21-26 องศาเซลเซียส ซึ่งจำเป็นต้องใช้แอร์ระบบใหญ่เหมือนเช่นในห้างสรรรพสินค้า และต้องการแสงอาทิตย์วันละ 16-18 ชั่วโมง เพราะมันจะออกดอกตอนกลางคืน ดังนั้นจึงต้องทำการติดตั้งหลอดไฟเพื่อให้ได้รับแสงที่เพียงพอ

และเรื่องที่หลายคนไม่ทราบคือ กัญชานั้นมีต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย ต้นกะเทย ซึ่งต้นตัวเมียบริสุทธิ์เท่านั้นที่จะสามารถนำมาทำสารสกัดนามันกัญชาเพื่อการแพทย์ได้ จากเหตุผลตามข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่านโยบายกัญชาเสรีไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะหากให้ประชาชนปลูกกันได้ 6 ต้นตามโควต้า ปัญหาใหญ่ที่จะตามมาของรัฐบาล คือ จะสามารถควบคุมคุณภาพของกัญชาจากหลายแหล่งที่มา และหลายวิธีการปลูกได้อย่างไร ถ้าเปิดเสรีเชื่อว่าคุมไม่อยู่แน่!

ยิ่งในอนาคตเราไม่ได้มองแค่ว่ากัญชาคือการรักษาทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแปรรูปเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศชาติได้อีกด้วย

แก่งเสี้ยนโมเดล คือ โมเดลที่ผลิตวัตถุดิบจากต้นกัญชา เพื่อนำไปผลิตใน Medical Grade ซึ่งโรงเรือนหนึ่งมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 40 ตารางเมตร สามารถปลูกได้ 45 ต้นกล่าวได้ว่า “แก่งเสี้ยนโมเดล” คือการตอบโจทย์การขับเคลื่อนนโยบาย “กัญชาเสรี” ของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำให้เห็นผลลัพธ์ออกมาได้จริงๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนทุกคนในประเทศนี้สามารถมีสิทธิ์ที่จะปลูกกัญชาได้ แต่จะต้องมีคนมาดูแลและรับผิดชอบให้ ซึ่งก็คือการจัด “โซนนิ่ง” ในพื้นที่ที่จัดเพื่อสำหรับไว้ปลูกกัญชา

เชื่อว่าในอนาคต “กัญชา” นอกจากจะสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยทางการแพทย์แล้ว ยังจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในการเป็น “ภูมิศาสตร์ทอง” สาหรับการเป็นพื้นที่เพาะปลูกกัญชา เพื่อส่งออกไปยังตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลทั่วโลก

ส่วน ดร.อำนาจ สุนทรธรรม ประธานเครือข่ายพัฒนาชีวิตครูแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่เราได้มาประชุมสัมมนาในวันนี้ ประโยชน์ที่ได้รับก็คือครูนอกราชการได้รับความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการของการปลูกกัญชา เรื่องที่สองก็คือการนำไปต่อยอด เราคิดว่าตามกฎหมายที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนได้มีโอกาสปลูกกัญชาได้โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่ได้มีการนำไปวิจัยบ่มเพาะ ซึ่งคิดว่าการสัมมนาครั้งนี้จะมีแนวโน้มที่ดี และครูเราก็มีความหวังที่จะร่วมเข้าโครงการนี้เพื่อสร้างนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาหนี้สินของครูในโอกาสต่อไป

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีครูนอกราชการจาก 4 ภูมิภาคจากทั่วประเทศพร้อมใจกันมาเกือบทั้งหมด ซึ่งการต่อยอดครูจะต้องไปจดเป็นวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปเพื่อรองรับกฎหมายที่จะสามารถทำให้คุณครูได้เข้าร่วมโครงการและปลูกกัญชาได้อย่างถูกต้อง

ด้านนายบำเหน็จ ทิพย์อักษร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กล่าวว่า จากประสบประการณ์ที่เราอยู่กับเพื่อนครูบาอาจารย์มาอย่างยาวนาน และในฐานะที่ผมดูแลการปลดเปลื้องหนี้สินของครูมานานเกือบ 20 ปี จะเห็นว่าสิ่งที่ครูประสบปัญหาก็คือครูที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว รวมทั้งครูที่รับบำเหน็จไป

เพราะฉะนั้นในวันนี้เราเห็นว่าวิสาหกิจชุมชน เวชศาสตร์กัญชา เพื่อการพัฒนาชีวิตครูนั้น จะเป็นการต่อยอดทำให้เพื่อนครูบาอาจารย์ของเราได้มีรายได้หลังจากเกษียณไปแล้ว ซึ่งรายได้ประจำของครูนอกราชการจะเห็นได้ว่าขณะนี้มันไม่พอเพียงต่อรายจ่าย เพราะฉะนั้นเราจึงถือว่ากัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ และจากการที่ได้เข้าอบรมในวันนี้ จะเห็นได้ว่าเพื่อนครูทุกคนต่างเข้าในวิธีการว่าการจะปลูกกัญชาให้ยั่งยืนนั้นจะต้องมีวิธีการปลูกที่แน่ชัดภายใต้กฎหมายและนักวิชาการที่มีองค์ความรู้ สำหรับแก่งเสี้ยน กาญจนบุรี โมเดล จะกลายเป็นศูนย์ให้กับครูบาอาจารย์ทั้งนอกประจำการและในประจำการจากทั่วประเทศมาศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติ และผมเชื่อมั่นว่าหนี้สินครูจะได้รับการบรรเทาและปลดเปลื้องหนี้สินที่มีอยู่ลงได้ และในอนาคตเชื่อว่าครูประจำการ จะเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน อย่างแน่นอน

ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์

Loading